Chapter 21
เทคนิคการท่องศัพท์ จากการเข้าใจกลไกการทำงานของสมอง
คำศัพท์ เหมือนของสะสม ใครโกยกันไว้มาก ก็ได้เปรียบ … เอาล่ะ! อาจารย์โจเข้าใจว่าหลายๆ คนที่กำลังอ่านอยู่ ไม่มีเวลาแล้ว (โว้ย!) ถ้าจะสอบพรุ่งนี้เลย ก็ย้อนไป 1 บทความ เอาแค่ 120 คำศัพท์ที่ต้องเจอชัวร์ๆ ก่อน แต่ถ้าใครยังพอมีเวลา ลองมาดูเทคนิคสร้างของสะสมให้กับสมองเรากันดีกว่าครับ
ถ้าเรายังพอมีเวลาในการเตรียมตัวท่องศัพท์ หรือ การสร้างพื้นฐานคำศัพท์เลยเนี่ย อาจารย์โจแนะนำว่า
1. จัดกลุ่มมันก่อนครับ คือพยายาม จัดกลุ่ม synonym และ antonym
2. ลองเอาพวก prefix มาใส่ เพื่อเปลี่ยนความหมายของมัน และลองคิดเล่นๆ ดูว่า คำๆ นี้มันมีรูป Part of Speech ครบทั้ง 4 รูป คือ Noun/ Adjective/ Adverb/ Verb หรือไม่ ก็ลองเอา Suffix ที่ได้เรียนรู้กันไปแล้ว มาลองเล่นดู ลองทำไปเรื่อยๆ sense การเปลี่ยนคำมันก็จะติดตัวเราไปเรื่อยๆ ครับ ของงี้ต้องใช้เวลา
จากขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 อาจารย์มีคลิป แสดงตัวอย่าง การทำ Vocabulary Mind Mapping มาฝากกันครับ
3. เก็งชุดคำศัพท์ให้เหมาะสมกับการสอบ คือสมมติ ว่าเราจะสอบ TOEIC เราก็ควรเน้นเฉพาะศัพท์ที่จะต้องเจอบ่อยๆ ในข้อสอบ TOEIC ก่อน ซึ่งแน่นอนว่าช่วยลด workload ในการท่องของเราไปได้มากทีเดียว (ใจเย็นๆ เดี๋ยวมีชุดเต็มมาแจก)
4. พยายามใช้จริง ลองคิดดูสิครับ ภาษาไทย เราไม่เคยท่องคำศัพท์ แต่เพราะเราใช้จริงทุกวัน มันก็เพิ่มพูนขึ้นเองอัตโนมัติ ดังนั้น เมื่อเราท่องศัพท์แล้ว ก็ควรจะพยายามใช้จริงด้วย ลองแต่งประโยคเก็บไว้ ยิ่งขำยิ่งดี และนอกจากเราจะได้ฝึกใช้คำศัพท์ได้ถูกความหมาย ถูกบริบทแล้ว เราก็จะได้ฝึกการใช้คำศัพท์นั้นๆ ให้ถูกโครงสร้างทางไวยากรณ์อีกด้วย
5. ใช้ Dictionary ภาษาอังกฤษถ้าจำเป็น คือจริงๆ แล้วถ้าเรามีคำศัพท์พื้นฐานประมาณนึง กับโครงสร้างทางภาษาที่ดีอีกประมาณนึง อาจารย์โจอยากให้เราไม่กลัวคำศัพท์ที่เราไม่รู้ ลองใช้โครงสร้างและ context ในการเดาศัพท์ดูก่อน เพราะเราไม่เคยต้องการความหมายเป๊ะๆ แต่เราต้องการความหมายที่เหมาะสมกับบริบทต่างหาก และนี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่ง ที่คนเอาแต่ท่อง อาจจะพลาดในข้อสอบ TOEIC ที่เล่นคำศัพท์ได้ อย่าลืมนะครับ คำศัพท์คำเดียวกัน เมื่อไปอยู่ต่างที่ต่างเวลาอาจมีความหมายที่แตกต่างออกไป ก็เป็นไปได้ แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อยเปิด Dictionary และอยากให้เปิด Dictionary ภาษาอังกฤษมากกว่า เพราะ Dictionary ที่แปลออกมาเป็นไทย บางครั้งเราจะไม่ได้ sense การใช้จริงๆ ของมันเราก็จะใช้สะเปะสะปะไปหมด ซึ่งฝรั่งอาจไม่ใช่กันแบบนั้นนั่นเอง ซึ่งจะต่างจาก Dictionary ภาษาอังกฤษที่นอกจากจะมี Definition มีประเภทคำ ก็ยังมีตัวอย่างประโยคให้เราอีกด้วย
6. ใช้ความกระแดะ ประโยคไทยผสมอังกฤษ เอาจริงๆ มันช่วยได้เยอะเลยนะครับ ถ้าเราเอาความกระแดะมาใช้ให้ถูกทางเนี่ย คืองี้ครับ บางทีเราท่องศัพท์ตัวเป็นคำๆ เราจำความหมายได้ แต่บางทีเราก็ยังใช้ผิดบริบท ผิดสถานการณ์ไปหมด ดังนั้น การจำลักษณะนี้แบบนี้จะช่วยให้เราใช้ถูกบริบทมากขึ้นนั่นเอง เช่น แกๆ พนักงานที่ร้านนั้น มีทักษะการ persuasion สูงมากๆ เลย ชั้นนะซื้อทุกที …. เราก็จะจำได้แล้วล่ะ ว่า persuasion = การโน้มน้าว การชักจูง การชวนเชื่อ ไรแบบนี้ครับ
7. ใช้หลักการทำงานของสมองเข้าช่วย
7.1 สมองคนเราไม่ชอบอะไรที่เป็นข้อความครับ แต่จะมีประสิทธิภาพกว่าหากเราสามารถมองเห็นเป็นภาพ หรือใช้ทำนองต่างๆ เข้ามาช่วย ดังนั้น การจัดหมวดหมู่ แต่งกลอน ใช้ทำนอง เคาะจังหวะ หรือร้องเป็นเพลง ก็จะทำให้เราจำได้แม่นยำและยาวนานมากขึ้นด้วย [กลอน เพลง จังหวะ จะถูกแทรกอยู่ในคอร์สเรียนเป็นระยะ เพื่อสร้างความจำถาวร]
7.2 สมองคนเรา จะกำจัดข้อมูลที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือมีผลน้อยต่อการใช้ชีวิตของเราออกไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราเตือนสมอง ย้ำไปในช่วงที่กำลังจะลืม ย้ำนะครับ ว่าช่วงที่กำลังจะลืม สมองเราก็จะจดจำสิ่งนั้นมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้ความสม่ำเสมอและระยะเวลาที่เหมาะสมในการย้ำและเตือนสมองของเรานั่นเอง [นักเรียนจะได้รับ Software “WORD ME UP” ซึ่งพัฒนาจากงานวิจัยการสร้างความจำถาวร หรือ ผู้สนใจสามารถซื้อแยกได้ผ่านทาง Website เช่นกัน]