Mini Chapter 2
3 Keys จุดเริ่มต้นพิชิตข้อสอบ Error Detection
ข้อสอบโหดแล้วไง ใครกลัว วิธีการดี ขั้นตอนชัดเจนซะอย่าง … 3 คาถา ตั้งรับข้อสอบสุด Tricky ขออย่าแปล ฝึกแบ่งประโยคเป็นท่อนๆ เน้นมองเป็นส่วนๆ และทำตามลำดับความสำคัญตาม Algorithm อดทนขุดความเคยชินมาปรับให้เป็นระบบ แล้วสุดท้ายคุณจะใช้คำว่า “ใช้ sense ตอบ” ได้อย่างแม่นยำและเป๊ะเวอ่ร์
อาจารย์โจให้คาถาไว้ 3 ข้อ
เป็นคาถาในความสำเร็จของ Part นี้เลยก็ว่าได้ครับ
ข้อที่ 1 … Don’t Translate
ห้ามแปลครับ คือห้ามแปลทั้งประโยคนะครับ ถ้าเมื่อไหร่คุณทำ Part นี้ โดยการแปลแล้วล่ะก็ จาก Writing Part (Grammar) จะข้ามไปเป็นส่วนหนึ่งของ Reading Part ทันที เพราะต้องกังวลศัพท์อีกมากมาย ปัญหาที่ตามมาคือ คุณจะ Scope มิติที่จะคิดไม่ได้เลย มีหลายมุมมองเหลือเกิน ถ้าต้องเอาเรื่องความหมายมาเกี่ยวตั้งแต่ต้น ดังนั้นปัญหาที่สองที่ตามมาแน่นอนคือ จะทำไม่ทันเอา
และที่สำคัญ การทำ Error Detection ด้วยการแปล คุณจะเผลอไปเปลี่ยนคำ เพราะคิดว่าควรใช้คำอื่นที่ความหมายดีกว่า … แต่เดี๋ยวก่อน Part นี้ ข้อสอบเน้นให้เช็คโครงสร้าง หรือ Structure เป็นหลักนะครับ ถ้าเปลี่ยนคำกันได้รับรองว่า เปลี่ยนสนุก ไร้ขอบเขตเลยครับ 555
ข้อที่ 2 … Sentence Separation
ฝึกตัดแบ่งประโยคยาวๆ ให้เป็นท่อนๆ ลองคิดดูนะครับ ถ้าเราอ่านทีเดียวทั้งประโยค สิ่งที่จะตามมาคือ โอ่ย ผิดตรงไหนหว่า หาไม่เจอเลย ตรงนั้นก็ถูกตรงนี้ก็ถูก เริ่มมองตรงไหนดี วนไปวนมา กังวลไปทั้งประโยค สุดท้ายก็ทำไม่ทัน ดังนั้นหากแบ่งประโยคดีๆ เราจะมองเฉพาะในท่อนเล็กๆ นั้นก่อนครับ ทำให้มิติในการคิดน้อยลงมาก และลดความสะเพร่าได้อีกเยอะด้วยเช่นกัน
รวมถึงบางข้อ เอาจิง ถ้าให้เราบอกว่ามันผิดยังไง แล้วควรจะแก้เป็นอย่างไรให้เหมาะสม เราก็ตอบไม่ได้เหมือนกันนะ แต่เมื่อเราใช้หลักแบ่งประโยคเป็นท่อนย่อยๆ แล้วคิดตัด Choice กลับได้คำตอบออกมาง่ายๆ เลยนะ มีประโยชน์ขนาดนั้นเชียวเหรอ … ไม่เชื่อ เดี๋ยวเราลองมาดูตัวอย่างการทำกันครับ
ข้อที่ 3 … Priority Focus
คิดพิจารณาตามลำดับความสำคัญ เราต้องไม่มาถึงก็อ่านจบหนึ่งประโยค แล้วมานั่งคิด เอ๊ะ ข้อ A เล่นเรื่อง Tense นี่หว่า ไม่ผิดด้วย ไปคิดข้อ B ต่อ ไปเรื่อยๆ จนเจอคำตอบ ทำแบบนี้ไม่ทันนะครับ ข้อ C อาจจะเป็นข้อที่สำคัญที่สุดตามโครงสร้างครับ ดังนั้นก็คิดก่อนเลย และเชื่อไหมครับว่าหลายๆ ครั้ง ก็ตอบตั้งแต่ข้อแรกที่คิดนี่แหละ อ้าวก็มันเป็นเรื่องสำคัญหนิครับ โจทย์ก็ต้องออกเยอะหน่อยเป็นธรรมดา
ดังนั้นในส่วนนี้อาจารย์โจจะทำขั้นตอนไว้ให้ 6 ขั้นตอนนะครับ (Algorithm) เป็นขั้นตอนที่ชัดเจนในการทำข้อสอบทุกรูปแบบ และมี % การออกข้อสอบสูงต่ำตามลำดับลงมา หรือพูดง่ายๆ ว่าโอกาสการเดาถูกก็ควรจะเป็นตามนี้ครับ ซึ่งอาจารย์โจเรียก 6 ขั้นตอนนี้ว่า Normal Structure คือ มันไม่มีอะไรซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากนักครับ เป็นข้อ Base Score คือควรได้คะแนนนะครับ ห้ามพลาดล่ะ บางคนทำข้อแบบนี้ผิด แต่ข้อยากๆ กลับถูกแฮะ เสียดายไหมล่ะ
และถ้าขั้นตอนแม่นนะครับ ช่วยประหยัดเวลาได้มากเลยล่ะ คือถ้าเราคำนวณง่ายๆ … 30 ข้อ ให้เวลามา 30 นาที ก็ตกข้อละ 1 นาที แต่จริงๆแล้ว บางข้อ 5 วินาทีต้องออกแล้วนะครับ บางข้อ 2 นาทียังไม่ออกเลย ดังนั้นต้องเฉลี่ยๆ ไปครับ
ในส่วน Mini Book เตรียมสอบ CU-TEP เราจะเริ่มต้นกันที่ 3 ขั้นตอน 3 Checklist ซึ่งอาจารย์โจจะเรียกว่า เป็น Normal Structure (ข้อสอบ Level 1) คือ นอกจากจะเป็นโจทย์ที่ห้ามผิดแล้ว ยังต้องใช้เวลาน้อยมากๆ อีกด้วยครับ ไม่ควรเกิน 10 – 15 วินาทีต้องได้คำตอบ ประหยัดเวลาไปทำข้อที่ลึกกว่านี้ครับ เป็น Base Score ที่ต้องเก็บให้ได้ หรือเป็นฐานในการตัด choice ถ้าพิจารณาแล้วมันไม่ผิด เพื่อไปคิดในขั้นตอนต่อๆ ไปครับ … ซึ่งโจทย์ Normal Structure นี้ ปกติในคลาสเรียน ถ้าใครผิดต้องใส่ #ร้องไห้หนักมาก หรือวาดหน้าคนร้องไห้เอาไว้ด้วย เพื่อเตือนสติว่า “เรายังเสียคะแนนง่ายๆ อยู่นะ”
ซึ่ง 3 ขั้นตอนแรกนี้ หากใครแยกได้เป๊ะ ได้แม่น ก็จะต่อยอดใน Reading Part และ Listening Part .. ทำให้ 2 Part ที่เหลือ ง่ายลงไปมากๆ เลยครับ รับประกัน
ส่วน ใครที่อยากได้ขั้นตอนทั้งหมด อีก 3 ขั้นตอนใน Normal Structure และ 2 ขั้นตอน ใน Hidden Structure รวมถึง Special Case ที่ข้อสอบ CU-TEP เคยออกมาตลอด 15 ปีที่เก็บมา พร้อมกับทริคการบริหารเวลา และ แบบฝึกหัดแยก Level กว่า 1000 ข้อ ให้พร้อมเข้าสู่โจทย์ Mix ยำรวม ใน Simulation Exam ที่ครอบคลุมลูกเล่นข้อสอบจริงอีก 6 ชุด ก็มาเจอกันในคอร์สนะครับ อาจารย์รออยู่ อ้อ! ผมดูแลนักเรียนเองทุกคนนะครับ ดังนั้นแม้จะเป็นคอร์สออนไลน์ ก็จะกำหนดจำนวนสักหน่อยครับ
พร่ำเพ้อนานละ มาเริ่มกันดีกว่า
ว่าขั้นตอนแรกถ้าผิดทำไมต้อง #ร้องไห้หนักมาก