Chapter 5
หลุมพรางความคุ้นชิน (สำหรับผู้ทำข้อสอบ)
… จุดที่ขั้นตอนแม่น เนื้อหา Grammar ก็เป๊ะ แต่ก็ยังเสียคะแนนไปอย่างง่ายๆ ทั้งๆที่เป็นโจทย์ระดับพื้นฐาน Normal Structure ไม่ใช่โจทย์ระดับ Hidden Structure หรือ Special Case ด้วยซ้ำไป
Chapter นี้อาจารย์โจจะพาไปพบกับ 1 ในความคุ้นชินระหว่างที่เรากำลังเช็คความเข้ากันของพระเอกกับนางเอก (ใน Chapter 4) ที่จะนำไปสู่ข้อผิดพลาดจนเสียคะแนนอย่างน่าเสียดาย ถึงขั้นที่ว่า เมื่อเข้าห้องสอบแล้ว นักเรียนบางคนรีบเขียนที่หัวข้อสอบ เพื่อเอาไว้เตือนสติกันเลยทีเดียว
จะเห็นว่าขั้นตอน หรือ Jigsaw ชิ้นแรก สำคัญมากๆ เพราะเรากำลังสาละวันอยู่กับพระเอกของเรื่อง นั่นคือ Verb แท้ ของประโยค โดยปกติเราก็จะเช็คกันตามขั้นตอนนั้นอยู่แล้วครับ … พจน์ใช้ถูกไหม แล้ว Tense ล่ะ สุดท้ายจึงมาดูว่า เอ๊ะ! ประธานมันควรทำเองหรือถูกกระทำ (Active vs Passive Voice) ซึ่งแน่นอนครับว่าทำโจทย์ไปเรื่อยๆ ก็จะชินกับขั้นตอนการคิด … ความคุ้นชินนั้นเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่อาจเผลอเรอกับโจทย์ที่ใช้ Verb ลักษณะนี้ครับ
ลองทำดูก่อนนะครับ 2 ข้อนี้
แล้วเดี๋ยวมาดูกัน ว่าใครตกหลุมพรางความคุ้นชินกันบ้างหรือไม่ ?
1. The economist is ……………………… that the economic recession will be recovered in the near future. (TOEIC 2/2017)
(A) convince
(B) convincing
(C) convinced
(D) to convince
2. Ms. Sato admitted that the sales of her division have been ……………………. but said she expected better results next month. (TOEIC 4/2021)
(A) disappointed
(B) disappointing
(C) disappointingly
(D) disappointment
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ใครตกหลุมพรางความคุ้นชินนี้บ้างเอ่ย จิงๆ ไม่แปลกนะครับ หลายๆ คนก็จะพลาดในลักษณะนี้ จนนักเรียนของอาจารย์โจหลายๆ ท่าน โน๊ตบนหัวข้อสอบไว้เลยครับ ว่า “ระวัง Verb of Feeling”
ต้องบอกว่า กว่า 90% เราจะเจอ Verb ที่แสดง Action ครับ ดังนั้นเราก็จะพิจารณาในมิติของ Active หรือ Passive Voice ได้ตามปกติ เช่น
- The dog bites me.
- I am bitten by the dog.
พอทำข้อสอบเพลินๆ ไปเรื่อยๆ ทำให้เราพลาดและลืมว่า เห้ย! นี่มัน Verb แสดงความรู้สึกนี่หว่า ซึ่งมันจะคิดแนวนี้แทน เช่น
- The movie excites me.
ใช้เป็น verb แท้เลย แปลว่า ทำให้ตื่นเต้น
- The movie is exciting
ใช้ในลักษณะ v.be + v.ing แปลว่า น่าตื่นเต้น
- I am excited / I feel excited
ใช้ในลักษณะ v.be + v.3 แปลว่า รู้สึกตื่นเต้น
กล่าวคือ Verb of Feeling เราจะไม่คิดในมิติของ ทำเองหรือถูกทำครับ แต่จะคิดในแง่ว่า น่า …. หรือ รู้สึก …. นั่นเอง (ดังนั้นหากไม่ระวังให้ดี อาจคิดและได้คำตอบตรงกันข้ามเหมือนตัวอย่างในคลิปเฉลยข้อ 2 นั่นแหละครับ)
และ Verb กลุ่มนี้ เป็นกลุ่ม Verb ที่ตอนเด็กๆ ต้องท่องกันครับ อาจจะเจอชื่อบทว่า Verb of Feeling หรือ Special Verb นั่นเองครับ …. อะไรนะครับ ผ่านวัยเรียนมานานแล้ว อุ๊ย! เหมือนกันเลย งั้น Download เอกสาร Verb กลุ่มนี้ไปใช้ให้คล่องิกันเลยครับ สำคัญๆ มาก เพราะเราจะได้สาธยายความรู้สึกที่ลึกซึ้งของเราได้ไง ^^ Click download ได้เลยครับ
อย่าเอาแต่ท่องนะครับ พยายามใช้จริง ผมเชื่อครับว่า 100% ในนี้เล่น Facebook เราทำอะไรกับมันบ่อยๆ ครับ … บ่น จริงป่ะ เราชอบ update status กัน แล้วมันจะมี Feeling …. ให้เลือกไง พร้อมใส่ emoticon เราก็ลองฝึกใช้บ่อยๆนะครับ Facebook มีให้เลือกใช้มากมายเลยครับ หมกมุ่นกับมันแล้วก็ใช้ประโยชน์จากมันด้วยครับ
ปล. สำหรับผู้นำ Grammar ไปใช้จริง คงไม่ต้องกังวลกับจุดนี้ เพราะถ้าเราจะเอาสื่อสารเราคงต้องรู้ความหมายของคำศัพท์คำนั้นก่อนแล้วล่ะ จริงไหมครับ ^^