Bonus Chapter 2
Mini Chapter 18
Vocabulary อีกครึ่งของความสำเร็จ
เทคนิคการท่องศัพท์ จากการเข้าใจกลไกการทำงานของสมอง
Structure ต้องดีคือครึ่งหนึ่ง (ใครยังไม่มั่นใจ อย่าลืมย้อนกลับไปอ่าน 8 Mini Chapters แรกของ CU-TEP Writing กันนะครับ) คำศัพท์ต้องพอประมาณคืออีกครึ่งหนึ่ง และมันคือของสะสม ศัพท์มากได้เปรียบ แม้มันจะไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับข้อสอบมีระดับ บทความนี้เราลองมาดูวิธีเพิ่มของสะสมของเรากันดีกว่า เริ่มก่อนได้เปรียบนะครับ
ถ้าเรายังพอมีเวลาในการเตรียมตัวท่องศัพท์ หรือ การสร้างพื้นฐานคำศัพท์เลยเนี่ย อาจารย์โจแนะนำว่า
1. จัดกลุ่มมันก่อนครับ คือพยายามจัดกลุ่ม synonym และ antonym สำหรับคำศัพท์ที่ออกบ่อยๆ (CU-TEP Vocab Notebook)
2. ลองเอาพวก prefix มาใส่ เพื่อเปลี่ยนความหมายของมัน และลองคิดเล่นๆดู ว่าคำๆนี้มันมีรูป Part of Speech ครบทั้ง 4 รูป คือ Noun/ Adjective/ Adverb/ Verb หรือไม่ หลังจากนั้นก็ลองเอา Suffix ที่ได้เรียนรู้กันไปแล้วมาใส่ต่อท้ายแล้วผันดู ลองทำไปเรื่อยๆ sense การเปลี่ยนคำมันก็จะติดตัวเราไปเรื่อยๆ ครับ ของงี้ต้องใช้เวลา
จากขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 อาจารย์มีคลิป แสดงตัวอย่าง การทำ Vocabulary Mind Mapping มาฝากกันครับ
3. เก็งชุดคำศัพท์ให้เหมาะสมกับการสอบ คือสมมติว่าเราจะสอบ CUTEP เราก็ควรเน้นเฉพาะศัพท์ที่จะต้องเจอบ่อยๆ ในข้อสอบ CUTEP ก่อน ซึ่งแน่นอนว่าช่วยลด workload ไปพอสมควรทีเดียว (แจกไปใน Mini Chapter 11 แล้วนะครับ)
4. พยายามใช้จริง ลองคิดดูสิครับ อย่างภาษาไทย เราไม่เคยท่องคำศัพท์ แต่เพราะเราใช้จริงทุกวัน มันก็เพิ่มพูนขึ้นเองอัตโนมัติ ดังนั้น เมื่อเราท่องศัพท์แล้ว ก็ควรจะพยายามใช้จริงด้วย ลองแต่งประโยคเก็บไว้ ยิ่งขำยิ่งดี และนอกจากเราจะได้ฝึกใช้คำศัพท์ได้ถูกความหมาย ถูกบริบทแล้ว เราก็จะได้ฝึกการใช้คำศัพท์นั้นๆ ให้ถูกโครงสร้างทางไวยากรณ์อีกด้วย
5. ใช้ Dictionary ภาษาอังกฤษถ้าจำเป็น ถ้าเรามีคำศัพท์พื้นฐานประมาณนึง กับโครงสร้างทางภาษาที่ดีอีกประมาณนึง อาจารย์โจอยากให้เราไม่กลัวคำศัพท์ที่เราไม่รู้ ลองใช้โครงสร้างและบริบทในการเดาศัพท์ดูก่อน เพราะเราไม่เคยต้องการความหมายเป๊ะๆ แต่เราต้องการความหมายที่เหมาะสมกับบริบทต่างหาก และนี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่คนเอาแต่ท่องอาจจะพลาดในข้อสอบ CUTEP ที่มีลูกเล่นบนคำศัพท์ค่อนข้างมาก
… อย่าลืมนะครับ คำศัพท์คำเดียวกัน เมื่อไปอยู่ต่างที่ต่างเวลาอาจมีความหมายที่แตกต่างออกไป แต่ถ้าลองเดาแล้วไม่ได้จริงๆ ค่อยเปิด Dictionary แต่อยากให้เปิด Dictionary ภาษาอังกฤษมากกว่า เพราะ Dictionary ที่แปลออกมาเป็นไทย บางครั้งเราจะไม่ได้ sense การใช้จริงๆของมัน เราก็จะใช้สะเปะสะปะไปหมด ซึ่งฝรั่งอาจไม่ใช้กันในใจความลักษณะนั้นนั่นเอง ซึ่งจะต่างจาก Dictionary ภาษาอังกฤษที่นอกจากจะมี Definition มีประเภทคำ ก็ยังมีตัวอย่างประโยคให้เราอีกด้วย
6. ใช้ความกระแดะ ประโยคไทยผสมอังกฤษ เอาจริงๆ มันช่วยได้เยอะเลยนะครับ ถ้าเราเอาความกระแดะมาใช้ให้ถูกทางเนี่ย คืองี้ครับ บางทีเราท่องศัพท์ตัวเป็นคำๆ เราจำความหมายได้ แต่บางทีเราก็ยังใช้ผิดบริบท ผิดสถานการณ์ไปหมด ดังนั้น การจำลักษณะนี้แบบนี้จะช่วยให้เราใช้ถูกบริบทมากขึ้นนั่นเอง เช่น แกๆ พนักงานที่ร้านนั้น มีทักษะการ persuasion สูงมากๆ เลย ชั้นนะซื้อทุกที …. เราก็จะจำได้แล้วล่ะ ว่า persuasion = การโน้มน้าว การชักจูง การชวนเชื่อ ไรแบบนี้ครับ
7. ใช้หลักการทำงานของสมองเข้าช่วย
7.1 สมองคนเราไม่ชอบอะไรที่เป็นข้อความครับ แต่จะมีประสิทธิภาพกว่าหากเราสามารถมองเห็นเป็นภาพ หรือใช้ทำนองต่างๆ เข้ามาช่วย ดังนั้น การจัดหมวดหมู่ แต่งกลอน ใช้ทำนอง เคาะจังหวะ หรือร้องเป็นเพลง ก็จะทำให้เราจำได้แม่นยำและยาวนานมากขึ้นด้วย และแน่นอนว่า ส่วนที่สำคัญๆ ก็จะเจอในคอร์สด้วยครับ
7.2 สมองคนเรา จะกำจัดข้อมูลที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือมีผลน้อยต่อการใช้ชีวิตของเราออกไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราเตือนสมอง ย้ำไปในช่วงที่กำลังจะลืม ย้ำนะครับ ว่าช่วงที่กำลังจะลืม สมองเราก็จะจดจำสิ่งนั้นมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้ความสม่ำเสมอและระยะเวลาที่เหมาะสมในการย้ำและเตือนสมองของเรานั่นเอง (หลักการทำงานของ WORD ME UP Interactive Vocabulary Software ใน Mini Chapter 11)
ได้วิธีการแล้ว อย่าลืมไปเพิ่มของสะสมกันนะครับ คำศัพท์เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาค่อยๆ เก็บ ค่อยๆ เกี่ยว และเมื่อเรามีคลังคำศัพที่เหมาะสม เมื่อมารวมกับ Structure ที่ดีเยี่ยม และเข้าใจกลไกการออกข้อสอบ CUTEP ทั้งหมด คะแนน 80+ หรือ ตามเป้าหมาย ก็ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอนครับ