Article 14
3 อาวุธพิชิต IELTS Reading [Part 2]
ห้ามพลาดแจกชุดคำศัพท์ไอเอล
Structure ต้องดีคือครึ่งหนึ่ง คำศัพท์ต้องพอประมาณคืออีกครึ่งหนึ่ง พอประมาณแปลว่า เหมาะและเป๊ะกับข้อสอบ IELTS คำศัพท์เปรียบเสมือนของสะสม ท่องก็ส่วนนึง แต่จริงๆ ควรผ่านการใช้จริงมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพราะท่องๆ ไป เดี๋ยวก็ลืมค่ะ บางทีเอาไปใช้ผิดบริบทอีก อีกอย่างไม่มีใครหรอกค่ะ ที่จะรู้คำศัพท์ทุกคำ และอาจารย์มองว่า นี่คือเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ … แล้วแต่ดวง แต่คำว่าดวง สำหรับอาจารย์นุ้ย มันคือ เรามี background อย่างไร และคุ้นกับชุดคำศัพท์ชุดนั้นมากน้อยแค่ไหนต่างหาก
เรื่องของคำศัพท์นับได้ว่าเป็นตัวชูโรงของข้อสอบ Reading เลยทีเดียว ซึ่งต้องบอกก่อนว่าหนึ่งในเทคนิคที่มักจะแนะนำนักเรียนในคลาสคือการทำข้อสอบไปพร้อมๆ กับการจับเวลาจริง เนื่องจากจะทำให้เราพร้อมสำหรับการสอบจริงค่ะ แต่กลายเป็นว่าปัญหาที่พบคือทุกคน stuck กับคำศัพท์ยากๆ ที่แปลไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทความที่ 3 ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะด้านและวิชาการ เช่น การขุดซากไดโนเสาร์ ซึ่งก็มีคำศัพท์ที่ทำให้เราถึงกับเดาไม่ถูกว่าแปลว่าอะไรกันแน่ จึงอยากแนะนำให้เตรียมคำศัพท์ไว้เยอะๆ นะคะ ดูคำศัพท์จากหลายๆ หมวด ยกตัวอย่างเช่น space, social activities, environment หรือ linguistics เป็นต้นเพราะถือว่าเป็นหัวข้อที่ออกสอบบ่อยพอสมควร
แต่ที่นี้ด้วยความที่เนื้อหามันกว้าง ก็อาจจะเตรียมตัวยาก ดังนั้น เหมือนเดิมนะคะ อาจารย์ก็มีเว็บไซต์คลังคำศัพท์ที่อยากแนะนำค่ะ ซึ่งด้านในมีคำศัพท์รวบรวมไว้ถึง 4000 คำเลยค่ะ ไล่ตั้งแต่ a-z
แหมๆ! กำลังร้องว่า โอ้วใครจะไปจำไหว 4000 คำแน่ะ รู้ทันนะคะ อาจารย์นุ้ยเลยเตรียมเฉพาะคำที่สำคัญๆ คัดสุดๆ 665 คำ มาแจกกัน
และเนื่องจากข้อสอบ IELTS นั้น จะมีคำศัพท์ปรากฏอยู่มากกว่า CU-TEP และ TOEIC พอสมควร ดังนั้นในการท่องก็ควรมีเทคนิคเช่นกันค่ะ ที่อยากแนะนำโดยส่วนตัวคือแต่งเรื่องราวให้กับคำศัพท์ตัวอย่างเช่น
- Compensate แปลว่าชดใช้
เทคนิคในการจำก็ไม่มีอะไรมากค่ะ จำเป็นภาษาไทยไปเลยว่า คอมพ์เป็นเศษ คิดภาพเราเพิ่งซื้อคอมพ์มาค่ะ แล้วคอมพิวเตอร์เราพัง ก็เหลือแต่เศษเหล็กถูกมะ จึงหมายความว่าบริษัทเจ้าของคอมจะต้องจ่ายเงินชดใช้ให้เรานั่นเอง ฟังดูตลกและไม่ค่อยเข้าท่าเท่าไหร่ (สังเกตค่ะว่าเวลาเล่นมุกนี้ในห้องทีไร นักเรียนจะทำหน้าแบบ…ต้องขำมั้ยครับ ’จารย์) แต่มันจะจำได้จริงๆ เพราะเรื่องราวตลกๆ นี่แหละ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ยังบอกเลยว่า
“Imagination is more important than knowledge.”
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
ดังนั้นเราจึงควรใช้จินตนาการมาเพื่อเสริมสร้างความรู้นะคะ
เอาล่ะค่ะ เมื่อกี้แค่โชว์ความติงต๊อง แต่เชื่อไหมคะ บางทีสมองคนเราก็แปลกนะคะ จำอะไรขำๆ หรือไม่ค่อยเกี่ยวกันเท่าไหร่ กลับจำได้ยาวแฮะ เอ้าๆ กลับเข้าเรื่องกันดีกว่า จริงๆ แล้วเราสามารถสร้างหรือสะสมคลังคำศัพท์ของเราได้หลายวิธีเลยค่ะ (ถ้ายังพอมีเวลานะคะ ไม่ใช่ว่า อีก 2 weeks จะไปสอบกันแล้ว) ถ้าอยากรู้ว่าการที่เราเข้าใจกลไกการทำงานของสมองจะช่วยให้เรามีวิธีจดจำสิ่งต่างๆ ได้อย่างดี ได้อย่างไร ติดตามได้ในบทความถัดไปกันเลยค่ะ … แต่สำหรับบทความนี้ยังไม่จบนะคะ
เรื่องของคำศัพท์ถือว่าเป็นบุญเก่าเช่นกัน หากใครที่มีความรู้ในด้านที่ข้อสอบออกสอบพอดี เช่นทำงานเกี่ยวกับสายวิทย์แล้วเจอข้อสอบที่เป็นทางด้านวิทยาศาสตร์ก็จะได้เปรียบ แต่ถ้าให้ทนายไปทำบางทีก็อาจจะงงกับคำศัพท์วิทย์ที่อยู่ในนั้นก็ได้ ในเมื่อแปลคำศัพท์ไม่ออก อันดับแรกสุดคืออยากให้ลองดูก่อนว่าคำศัพท์ที่ปรากฏนั้นๆ มีความหมายหรือความสำคัญต่อบทความมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นแค่ส่วนขยายธรรมดายกตัวอย่างเช่น ipso facto แบบเมื่อครู่นี้ หากเจอคำละตินเข้าไป เราก็โฟกัสแค่ข้างหลังก็พอค่ะ ในขณะที่ถ้าดูแล้วมันสำคัญต่อคำตอบ ก็ต้องพยายามเดาคำศัพท์คำนั้นให้ได้ค่ะ
ดังนั้น เราก็มีเทคนิคการเดาคำศัพท์ขั้นเทพมาแนะนำกันค่ะ ตอนนี้ก็กด ปุ่ม play ได้เลยนะคะ แล้วในระหว่างที่อาจารย์นุ้ยอธิบาย ก็ลองอ่านเนื้อหาตามไปด้วยค่ะ
โดยการเดาคำศัพท์ จะต้องดูจาก context หรือบริบทโดยรอบค่ะ ประโยคใกล้เคียงนั่นเองโดยดูว่า
1. บอกความหมาย โดยการบอกความหมายแบบตรงตัวนั้นอาจจะมีคำชี้แนะหรือเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏดังต่อไปนี้ ยกตัวอย่างเช่น
- to be called
- be defined as
- being known as
- means
- in other ways
- that is
- i.e.. หรือเครื่องหมายวรรคตอนเช่น, -, (…) เป็นต้นค่ะ
ลองดูตัวอย่างก่อนเลยค่ะ
Jack’s duplicity – crafty dishonesty – caused him to steal hiscoworker’s pensions by funneling their money into an offshoreaccount.
แม้เราจะไม่รู้ว่า duplicity แปลว่าอะไร แต่อย่างน้อยต้องรู้ค่ะว่า dishonesty แปลว่าความไม่ซื่อสัตย์
ดังนั้น dishonesty จึงเป็นความหมายของ duplicity นั่นเองค่ะ
The baseball coach punished the team’s duplicity or deceitfulness after they admitted to using steroids toboost their batting averages.
It was your duplicity that caused me to break up with you! Had you been honest, I wouldn’t have felt the need.
เป็นเพราะ duplicity ที่ทำให้ฉันเลิกกับเธอ! ถ้าเธอซื่อสัตย์นะ ฉันก็ไม่เลิกหรอก
จะเห็นได้ว่า duplicity หมายถึงความไม่ซื่อสัตย์นั่นเองค่ะ
His duplicity involved lowering his employee’s salaries and thenstealing the money he saved by doing so.
อ่านแล้วเห็นเลยว่าเขายกตัวอย่างพฤติกรรมการโกงนั่นเองค่ะ ดังนั้นรู้ได้ทันทีว่าแปลว่าอะไร
สุดท้ายนะคะ สิ่งที่อยากย้ำคือ ดูให้ออกด้วยว่าคำศัพท์นั้นความหมายบวกหรือลบ เพราะมีผลต่อความหมายต่อประโยคทั้งประโยคเลยค่ะ และอาจกระทบถึงคำตอบด้วยนะคะ 🙂
แล้วอ่านคำศัพท์ไปเท่าไหร่ถึงจะพอ ซึ่งอยากกระซิบบอกว่านอกเหนือจากการท่องคำศัพท์ที่จะจัดให้เป็นหมวดหมู่โดยทั่วไปแล้วในหลักสูตร Full Package IELTS ของโรงเรียนเราก็ยังมีการสอนคำศัพท์ในเชิงลึกอย่างการสอนไปถึงรากภาษาละตินและภาษากรีก ซึ่งก็เปรียบได้กับภาษาบาลีที่เป็นรากและพื้นฐานให้กับภาษาไทยค่ะ ใครที่มีความรู้ด้านภาษาละตินและภาษากรีกในส่วนของรากศัพท์เนี่ย จะทำให้ได้ประโยชน์ในการเดาคำศัพท์ที่จะปรากฏในบทความที่ 3 (ซึ่งยากที่สุด) ได้ง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
- Thermal energy
Thermal มาจาก Therm- เป็นรากศัพท์ที่แปลว่าความร้อนค่ะ ถ้าเรารู้ว่ามันแปลว่าความร้อน สมมติว่าเราแปลคำว่า thermometer ไม่ออก แต่เราเห็น therm- ข้างหน้าก็จะรู้ได้ว่าเกี่ยวกับความร้อน ในขณะที่ meter เราก็คงคุ้นๆ กับมันในความหมายว่า มาตรวัด ดังนั้น thermometer จึงเท่ากับมาตรวัดความร้อน หรือปรอทนั่นเอง