TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities
TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities
TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities

MENU IELTS Reading

ENG ME UP CHANNEL

Share :

Article 13

3 อาวุธพิชิต IELTS Reading [Part 1]
พื้นฐานดี เทคนิคแน่น คะแนน 6.5 กลัวอะไร?

( IELTS Reading 3 )
Grammar เป็น Input ที่สำคัญมากๆ ในการนำไปใส่ใน Process และ Technique การทำคะแนน IELTS ในทุกพาร์ท ดังนั้น อาจารย์นุ้ย อยากให้นักเรียนได้เข้าไปอ่าน ไปทบทวน จาก 10 บทความเปลี่ยนทัศนคติต่อภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์โจกันก่อนนะคะ https://blog.englishmeup.com/grammar

 Grammar 

     จะอ่านทั้งที เราก็ต้องมีอาวุธไปสู้นะคะ โดยที่อาวุธซึ่งนักเรียนควรมีเพื่อการสอบ Reading ของ IELTS มีทั้งหมด 3 ประการด้วยกันค่ะ

     อันดับแรกสุดคือความรู้ทางด้านไวยากรณ์ค่ะ มาถึงจุดนี้อาจจะ เอ๊ะ นี่ฉันสอบการอ่าน ไม่ได้สอบเขียนสักหน่อย ทำไมไวยากรณ์จึงจำเป็น จริงๆแล้วมันจำเป็นอยู่นะคะ เนื่องจากว่าบทความที่เราอ่านนั้นไม่ต่างจากอะไรจากเรียงความที่มีคนเขียนให้อ่าน และหลายครั้งที่เขาได้ใช้หลักทางไวยากรณ์นี่แหละมาหลอกเราค่ะ

     สิ่งที่ควรรู้เป็นหลักๆเลยคือ 1 ประโยคมีกริยาได้ 1 ตัว ถ้ามีมากกว่า 1 ตัวต้องมี connectors จะถือได้ว่า subject และ verb เป็นเนื้อความหลักของประโยคนั่นเอง และส่วนที่เขาเอามาหลอกเราก็คือส่วนขยาย

     ทั้งนี้ หลักการดูส่วนขยายก็มีอยู่หลายแบบด้วยกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ,…, หรือการใช้ who, which, whom, whose เป็นต้น เวลาที่เจอแบบนี้นะคะอาจารย์นุ้ยมักแนะนำให้อ่านผ่านๆ ก็พอ อย่าไปสนใจมากนักเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการวางขยาย ก็เพื่อหลอกให้คนใช้เวลาอ่านนานขึ้นนั่นเอง และในส่วนขยายก็มักจะมีคำศัพท์ยากๆ ที่แปลไม่ออกซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เราอ่านเลย ยกตัวอย่างเช่น

As one writer observes: ‘Although it is now evident that artefacts are as easily altered as chronicles, public faith in their veracity endures: a tangible relic seems ipso facto real!

     แหม…ไม่ธรรมดาเลยนะคะ ใส่คำละติน ipso facto มาด้วย ถ้าสมมติว่าเจอแบบนี้ปุ๊บนะคะ แนะนำให้มองข้ามไปเลย สิ่งที่เราควรโฟกัสก็คือคำว่า real ที่อยู่ข้างหลังนั่นเอง ส่วนอิปโซแฟคโต้มาดามทุสโซเจลาโต้อะไรนั่นก็ช่างมันเถอะค่ะ ปล่อยให้มันอยู่ตรงนั้นของมันไป

     แต่ทีนี้นะ ถ้าเราสังเกตข้อนี้นิดหนึ่ง จะเห็นได้ว่าตำแหน่งที่มีคำละตินนี้เป็นตำแหน่งหน้า adj. ดังนั้นค่าของมันจึงเท่ากับ adv. นั่นเองและตามนิสัยของผู้ออกข้อสอบแล้ว Adv. ที่ออกมาเป็นข้อสอบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความสำคัญอะไรนักนอกจากหลอกผู้อ่านค่ะ แต่ถ้าใครอยากรู้จริงๆ จะบอกให้ก็ได้ว่ามันแปลว่า “โดยนัย” ค่ะ เห็นไหม แม้แต่ความหมายของมันจริงๆ ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกับรูปประโยคเลยทั้งสิ้น จึงสามารถมองเมินเหมือนเวลาเห็นหน้าแฟนเก่าได้ทันที

     และนอกเหนือจากเรื่องโครงสร้างแล้ว สิ่งที่อยากให้โฟกัสอีกเรื่องก็คือเรื่องของ Noun หลักโดยที่ Noun หลักจะอยู่ได้ 2 ตำแหน่งด้วยกัน หนึ่งคือนำหน้า preposition และสองคือหลังสุด หลังสุดในที่นี้หมายความว่าไม่ว่าคำๆ นั้นจะเป็นคำนามประสมหรือคำนามที่มี Adj นำหน้าก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น

The content and format of explanations dated back to a time when the museum was the exclusive domain of the scientific researcher.

คำถามค่ะคำว่าอะไรเป็น N หลักกันแน่ระหว่าง
The content and format หรือ explanations

     เราก็สามารถตอบได้โดยไม่ต้องคิดว่าก็คือ 2 ตัวแรก ซึ่งการรู้โครงสร้างเช่นนี้จะทำให้เราตอบได้ถูกต้องมากขึ้นและสามารถตอบคำถามแบบที่เติมคำในช่องว่างได้ไม่หยิบเอาตัวขยายมาเป็นคำตอบแทนที่จะตอบแทนคำนามหลักนั่นเองค่ะ

     ทีนี้เราก็มีคลิปดีๆ จากอาจารย์โจเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ลองฝึกการอ่านตาม และสามารถแยกโครงสร้างได้เข้าใจว่าอะไรคือส่วนขยายเพื่อที่จะไม่เสียเวลา รับรองดูจบปุ๊บทำข้อสอบการอ่านได้แบบชิวๆ แน่นอนค่ะ

     และไวยากรณ์สุดท้ายที่อยากฝากไว้ให้ดูด้วยก็คือ Active / Passive Voice นั่นเองค่ะ เนื่องจากเราต้องจำแนกให้ได้ว่าใครเป็นคนกระทำและใครเป็นคนถูกกระทำ อันนี้สำคัญมากนะจ๊ะ เพราะบางทีเนี่ยในข้อสอบแบบมีตัวเลือกก็เอา Active/Passive Voice มาสลับหลอกอยู่ใน choice ค่ะ โครงสร้างของ passive ก็ไม่มีอะไรมาก ดูให้ดีว่า V.to be นำหน้า V.3 หรือเป็น V.3 อยู่ในตำแหน่ง Adj. หรือเปล่าแค่นั้นเองค่ะ

     โครงสร้างของ passive ก็ไม่มีอะไรมาก ดูให้ดีว่า V.to be นำหน้า V.3 หรือเป็น V.3 อยู่ในตำแหน่ง Adj. หรือเปล่าแค่นั้นเองค่ะ

     และอีกเช่นเคยค่ะ อาจารย์นุ้ย ขอใช้ 4 Clips นี้ จากอาจารย์โจ เพื่อ clarify การจำ 12 Tenses ด้วยการตั้งบวกแบบสมการคณิตศาสตร์ ทึ่งนะคะ คิดได้ไง รวมถึงการใช้งานทั้ง 12 Tense และ Passive Voice บนกระดานหน้าเดียวได้อย่างง่ายดายเลยค่ะ

 Skills ที่จำเป็นสำหรับการอ่าน 

     แม้ว่าการอ่านจะเป็นเรื่องของประสบการณ์แบบที่ถ้าใครอ่านเยอะก็ได้เปรียบ แต่จริงๆแล้วการอ่านนั้นก็อาศัยการใช้ทักษะเหมือนกัน ซึ่งทักษะที่ได้นี้จะได้มาจากการอ่านมากๆ ลองทำแบบฝึกหัดมากๆ แต่ถ้าเราหัดทำอย่างเดียวโดยไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรเข้ามาช่วยในการอ่าน อ่านไปแบบนั้น แบบนี้คะแนนเราก็อาจไม่พัฒนาค่ะ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้ทักษะการอ่าน งั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าทักษะใดที่จำเป็นสำหรับการอ่านบ้าง

เราจะเรียกมันว่า 2S ค่ะ คือ

1. Skim
     คือการอ่านเพื่อจับใจความค่ะ โดยการอ่านแบบนี้เราจะอ่าน S และ V หลักของประโยคค่ะ อ่านเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาว่าเป็นอย่างไร เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามประเภท Main Idea และ Purpose ซึ่งเป็นคำถามกว้างๆ ที่ต้องการความเข้าใจได้ค่ะ

      ลองดูคลิปอาจารย์โจ จะเป็นเทคนิคของการ Skim ใน Passage ที่ถามภาพกว้าง ซึ่งเราอ่านผ่านๆ เน้นแต่ส่วนหลักก็พอ ซึ่งอาจารย์โจ ก็เรียกชื่ออลังการอีกแล้ว ว่า “กลยุทธ์วงกลมแล้วลืมโลก”

2. Scan
     คือการหาข้อมูลเฉพาะ คือการอ่านแบบเล่นซ่อนหา ปราดตามองหา keywords สำคัญที่อยู่ในคำถามนั่นเองยกตัวอย่างเช่นชื่อเฉพาะ ปี เดือน วัน เมือง ชื่อสถานที่ เป็นต้นค่ะ ซึ่งในการทำแบบสแกนนี้จะเหมาะสำหรับข้อสอบประเภทถามหารายละเอียด

How to Use ENG ME UP Blog

Play Video

เนื่องจากเนื้อหา “Mini Book” เตรียมสอบ IELTS มีความต่อเนื่องกัน อาจารย์แนะนำให้ศึกษาตามลำดับ โดยเริ่มจาก Chapter 1
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ

เนื่องจากเนื้อหา “Mini Book” เตรียมสอบ IELTS มีความต่อเนื่องกัน อาจารย์แนะนำให้ศึกษาตามลำดับ โดยเริ่มจาก Chapter 1
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ