TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities
TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities
TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities

MENU IELTS Reading

ENG ME UP CHANNEL

Share :

Article 12

กลเม็ดเคล็ดไม่ลับ อ่านอย่างไรให้ปัง
เทคนิค IELTS Reading ไม่ยากอย่างที่คิด

( IELTS Reading 2 )

Grammar เป็น Input ที่สำคัญมากๆ ในการนำไปใส่ใน Process และ Technique การทำคะแนน IELTS ในทุกพาร์ท ดังนั้น อาจารย์นุ้ย อยากให้นักเรียนได้เข้าไปอ่าน ไปทบทวน จาก 10 บทความเปลี่ยนทัศนคติต่อภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์โจกันก่อนนะคะ https://blog.englishmeup.com/grammar

1 ชั่วโมงกับ 3 Passages แข่งกับเวลาอย่างแท้จริง

     พอเห็นหัวปุ๊บ เชื่อว่าสิ่งมาในความคิดของทุกคนก็คือมีแค่ 3 passages เอง ดังนั้น 1 ชั่วโมงยังไงก็ทัน ชิวชิว ทำไปกินข้าวไปก็ไหว แต่…! มันไม่ได้ง่ายแบบนั้นน่ะสิคะ

     เพราะจริงๆ แล้ว… Passage 1 ความยาวจะอยู่ที่ 900 คำ และประกอบไปด้วยคำถาม 2-3 ประเภท เช่น True/False/Not Given, การตอบคำถามแบบสั้นๆ, เติมคำในช่องว่าง และทั้งนี้เองบทความแรกนั้นจะง่ายที่สุด โดยที่เนื้อหาจะยังไม่ซับซ้อนเท่าไร เป็นเรื่องมีไทม์ไลน์เดียว ยกตัวอย่างเช่นชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีชื่อเสียงของโลก หรือความรู้ที่ได้จากการวิจัยทั่วไปค่ะศัพท์เฉพาะที่ปรากฏอยู่ใน passage ก็จะยังไม่อลังการงานสร้างเท่าไหร่นัก ดังนั้นจึงอยากแนะนำว่าพยายามเก็บคะแนนจาก Passage แรกให้ได้มากที่สุดนะคะ เพราะคือเทวดาที่ลงมาโปรดเรานั่นเอง ส่วนที่เหลือน่ะ…(หรี่ตาพร้อมหัวเราะในลำคอ)

     ต่อมาก็คือ Passage 2 ความยาวจะอยู่ที่ 900-1000 คำค่ะ เนื้อหาจะยากขึ้นมาและซับซ้อนขึ้น ส่วนขอบเขตของเนื้อหาก็จะยังไม่พ้นเรื่องเดิมๆ ค่ะ คือเป็นบทความที่เราจะเจอได้ตามหนังสือเรียนหรือนิตยสาร แต่ทีนี้จะมีความเป็นวิชาการมากขึ้นและอาจจะไม่เป็นไทม์ไลน์เดียวแบบบทความที่ 1 แล้วอาจจะสลับไปสลับมาประหนึ่งละครข้ามชาติข้ามภพ ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังก็คือเนื้อความที่มีการขัดแย้งกันเองในบทความ ยกตัวอย่างเช่นใน Passage อาจจะมีนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยอะไรก็ตามที่เป็นเฉพาะด้านมาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เราจึงต้องดูให้ออกว่าใครมีความคิดเห็นอะไร บางทีคนนึงอาจคิดหลายแง่มุมก็ได้ค่ะ และสำหรับข้อสอบเองก็จะยากขึ้น แต่แน่นอนว่าไม่เกินความสามารถเราค่ะ

     ส่วน Passage 3 เป็นบทความที่ยากที่สุดค่ะ เนื่องจากเนื้อหาจะค่อนข้างเฉพาะเจาะจงเป็นในด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เสียมากและจะมีคำศัพท์เฉพาะที่ยากต่อการเดาปรากฏขึ้นรวมถึงมีการเปรียบเทียบว่าสิ่งโน้นดีกว่าสิ่งนี้ สิ่งนี้ดีกว่าสิ่งนั้น และรายละเอียดเองก็จะเยอะ รวมถึงรูปแบบคำถามก็จะยากกว่าส่วนอื่นอาศัยการตีความและความเข้าใจมากกว่าบทความอื่นๆเช่นกันค่ะ

กลเม็ดเคล็ดลับสำหรับเอาชนะ Reading
บริหารเวลาเป็น คะแนนเด่นแน่นอน

     อย่างที่ทราบกันดีว่าให้เวลามาทั้งหมด 1 ชั่วโมง และไม่ได้ให้เวลามาเผื่อสำหรับการลอกคำตอบลงกระดาษคำตอบ ทีนี้ แล้วจะจัดการเวลายังไงดี อันดับแรกสุดนะคะ จำไว้เลยว่าสามบทความจะเรียงลำดับจากง่ายไปหายากค่ะ

ให้เวลาลองคิดกันสักสิบวินะคะ ว่าถ้าเป็นตัวเองจะบริหารเวลายังไง

     …โอเคค่ะ หมดเวลา เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่า ก็ทำข้อยากก่อนไง แล้วเก็บข้อง่ายๆ ไว้ทำทีหลัง เหมือนเวลาที่กินก๋วยเตี๋ยวแล้วต้องเก็บลูกชิ้นไว้กินตอนท้ายสุด (อาจารย์รู้ทุกคนเป็น เพราะอาจารย์ก็เป็นค่ะ) แต่พอมาเป็นเรื่องของข้อสอบ นอกจากส่วนของ Writing ที่แนะนำให้ทำยากไปง่าย (Task 2 ก่อน Task 1) แล้วนะคะ ก็ขอให้ระลึกไว้เลยว่าทำง่ายไปหายากนะคะ! ขีดเส้นใต้สามเส้น กาดอกจันสามดอกเลย

     อันนี้เป็นประสบการณ์ตรงค่ะ เคยได้ยินคำให้การจากนักเรียน บอกว่าทำอันหลังก่อนเพราะมันยาก แล้วสุดท้ายปรากฏว่าก็ใช้เวลาทั้งชั่วโมงในการจมอยู่กับ Passage 3 พยายามแปลศัพท์ พยายามทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง แต่…ทำไงก็ทำไม่ได้ สุดท้ายก็ปล่อยเวลาและข้อสอบที่เหลืออีก 2 passages ให้ลอยหายไปตามสายลม (แน่นอนว่าคะแนนก็ไปด้วยเช่นกัน) ดังนั้น เราจึงควรทำข้อง่ายก่อน เพราะคะแนนของข้อในแต่ละ passage มันเท่ากัน หากเก็บอันง่ายได้ก่อน รับรองอย่างน้อยก็มีคะแนนมานอนกอดแล้ว และอยากแนะนำว่าควรบริหารเวลาโดยแบ่งเวลาแบบนี้นะคะ

Passage 1 >> 15-17 นาที – เพราะง่ายสุด และสามารถเก็บคะแนนได้ง่ายๆ

Passage 2 >> 20 นาที – ยากขึ้นเป็นอันดับสองค่ะ

Passage 3 >> เหลือเท่าไร เทให้หมดเลย

     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมเวลาอีกเล็กน้อยที่จะเอามาเขียนคำตอบใส่กระดาษคำตอบ และรีเช็คด้วยว่าตัวเองตอบคำถามได้ถูกต้องหรือไม่ ใส่ตัวอักษรถูกไหม

รู้จักเทคนิคของคำถามแต่ละประเภทเพื่อให้ตอบได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

     เนื่องจากประเภทของคำถามในข้อสอบการอ่านนั้นก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น True False Not Given,Multiple Choices, Matching Names etc. และอื่นๆ นับ 10 ประเภทเลยค่ะ ดังนั้นเนี่ยต้องดูให้ดีเพื่อที่เวลาเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบแล้ว จะได้ไม่เขียนผิด ยกตัวอย่างเช่น เขาต้องการตัวอักษรของ Choice ก็ให้ใส่ตัวอักษรของ Choice ค่ะ อย่าใส่ตัวอักษรนำหน้า paragraph นะ มิฉะนั้นแล้วแม้ว่าจริงๆคำตอบในส่วนเนื้อหาจะถูก แต่ก็ถือว่าผิดอยู่ดีเพราะตอบไม่ตรงกับเฉลยของเขา

     และอีกเรื่องที่ต้องดูให้ดี สมมุติเขาให้เรื่องย่อหรือโน้ตมาแล้วมีช่องว่างต้องการคำเติมลงไป เราควรพิจารณาดูว่าช่องว่างนั้นๆ ต้องการหน้าที่ของคำประเภทใด ต้องการ part of speech ใด และเป็นคำหมวดไหน

ยกตัวอย่างเช่นประโยคด้านล่าง

There are currently approximately 6,800 languages in the world. This great variety of languages came about largely as a result of geographical……….…..

     จะเห็นได้ว่าหากเรามีความรู้ด้าน Part of Speech จนแม่นพอ จะรู้ได้ทันทีว่าตำแหน่งที่หายไปนั้นเป็นตำแหน่งของคำนามนั่นเอง เนื่องจากมี adj. อย่าง geographical นำหน้าค่ะ ดังนั้นเราต้องมองหาคำนามที่ปรากฏใน passage ซึ่งมี context หรือบริบทเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคำถาม เพื่อนำมาตอบในช่องว่างให้ถูกต้องค่ะ

How to Use ENG ME UP Blog

Play Video

เนื่องจากเนื้อหา “Mini Book” เตรียมสอบ IELTS มีความต่อเนื่องกัน อาจารย์แนะนำให้ศึกษาตามลำดับ โดยเริ่มจาก Chapter 1
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ

เนื่องจากเนื้อหา “Mini Book” เตรียมสอบ IELTS มีความต่อเนื่องกัน อาจารย์แนะนำให้ศึกษาตามลำดับ โดยเริ่มจาก Chapter 1
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ