Bonus Chapter 1
Mini Chapter 17
รู้ทันคำถามกับดัก ใน Long Passage
Chapter นี้ ให้ไว้เป็นข้อควรระวังกับการเลือก Choice ในการตอบ
ตอบยังไงไม่ให้โดนหลอก และเสียคะแนนไปง่ายๆ
- อ่านก็เข้าใจ
- ศัพท์ก็เป๊ะ
- Choice ก็ตรงตามที่อ่าน
หลายๆคนอาจจะเคยมีความรู้สึกนี้หลังสอบเสร็จ .. เอ๊ะ! ก็อ่านได้ แปลได้ เข้าใจเรื่อง แต่ทำไมเวลาคะแนนออกมาแล้วมันน้อยจัง ต้องบอกว่ามีหลายประเด็นครับ ถ้าย้อนกลับไปดูใน Chapter ก่อนๆ แน่นอนเรื่อง Structure เรา Focus ส่วนหลักได้แม่นยำแค่ไหน นั่นคือประเด็นแรกที่จะทำให้เราพลาดเสียคะแนนในคำถามประเภท Main Idea ทั้งหลาย ดังที่เราได้เรียนรู้กันไปแล้ว
กับดักอีก 3 ลักษณะ ที่ต้องเจอเสมอแน่นอนในข้อสอบ CU-TEP และอาจเป็นกับดัก ดักคะแนน สำหรับหลายๆ คน ได้แก่
1. Inference หรือ Implication
โจทย์พวกนี้ให้ตีความครับ ดังนั้นหลุมพลางจะเป็นประมาณนี้ นึกภาพตามนะครับ .. เราอ่านเข้าใจเรื่อง เข้าใจเนื้อหา พอมาเจอ Choice ก็เนื้อหาหรือคำเหมือนกันเลยนี่หว่า แทบจะ copy ลงมาเลย อาจเปลี่ยนคำศัพท์ หรือเรียงประโยคใหม่เล็กน้อย เลยมั่นใจ จับดินสอพร้อมฝนลงไป .. ปรากฎว่า เห้ยผิด! ทำไม ทำไม เขาเฉลยผิดแน่ๆ
.. ช้าก่อน อย่าเพิ่งโทษคนออกข้อสอบ (เอาจริงๆ ข้อสอบ Reading มันก็ Subjective นะ อยู่ที่เราจะตีความเหมือนกับคนออกไหม .. เอ้าแล้วทำไง เราก็เลยมานั่งจูนจาก Algorithm การออกข้อสอบกันอยู่นี่แหละครับ) ก็เขาให้ตีความไง ดังนั้น ตอบตรงๆ ถือว่าผิดนะ ต้องคิดต่ออีกนิด แต่ความยากคือ อย่าคิดต่อไปไกลเกินเนื้อหานะคับ
ส่วนใหญ่พวกดวงดี เช่น ชั้นจบแพทย์แล้วเผอิญเจอบทความเกี่ยวกับโรคพอดี ดูจะหวานหมู อ่านเข้าใจง่าย แต่บางทีคำถามประเภทนี้ การที่เรามีความรู้เยอะ อาจทำให้คิดเลยจากขอบเขตเรื่องที่ให้มา ก็โดนซะอีกหนึ่งดอก จุกไปตามๆกัน
ดังนั้นอย่าลืมนะครับ “ตรงๆไม่ตอบ คิดเกินประเด็นก็ไม่ได้” ความปลอดภัย คือ ดูทีละ Choice แล้วตัด อันที่ผิดเนื้อหาไปก่อน แล้วส่วนใหญ่จะเหลือ 2 Choices ก็ ดูอันที่ไม่ตรงเป๊ะ แล้วตอบเลยครับ
Example: Based on APEDA’s spokesperson, it can be inferred that if Rice Tec had not withdrawn its four claims on Basmati rice, ____________________.
A. India would have lost its ownership of Basmati rice.
B. The Indian economy could have faced significant losses.
C. The product’s future exports would have been affected.
D. India would have been able to revoke the patent granted to Rice Tec.
จากบทความก่อนๆ เมื่อเราอ่านโจทย์ปุ๊ป เราก็จะรู้แล้วครับว่าข้อนี้ถาม Detail ดังนั้นเราก็วง Keyword แล้วกลับไป Scan หาได้เลย อย่างข้อนี้ อาจารย์วงคำว่า APEDA’s spokesperson จะได้ไปหาว่าคนนี้กล่าวอะไรไว้ แล้วมาเทียบ Choice
สมมติว่าอาจารย์หาเจอแล้วนะครับ จะลองยกข้อความส่วนนี้มาให้ดู
An APEDA spokesperson said “We have succeeded in pressuring Rice Tec to withdraw four claims, which would have adversely affected India’s commercial interests in future exports of Basmati rice.
จะเห็นได้ว่า ตัดข้อ A และข้อ D ออกไปก่อน เพราะไม่ตรงกับเนื้อหาในที่นี้ โดยข้อที่ใกล้เคียงและชัดมากคือข้อ C ครับ แทบจะเหมือนกับที่อ่านเลย ดังนั้นจึงไม่สมควรตอบข้อนี้ครับ เพราะโจทย์ถาม Infer จึงตอบตรงๆ ไม่ได้ ต้องคิดต่ออีกนิดครับ
ดังนั้นข้อนี้ จึงต้องตอบข้อ B : เมื่อสินค้าส่งออกอย่างข้าว Basmati ของอินเดียไม่เป็นที่สนใจอีกต่อไป แน่นอนว่า India ก็ต้องได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน
2. Writer’s Attitude/ Purpose
คำถามลักษณะนี้ เดาคำตอบง่ายครับ ให้เน้นเลือกคำกลางๆ เข้าไว้ ไม่เอนเอียงสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง
ลองคิดดูสิ การออกข้อสอบระดับ CUTEP, TOEFL, IELTS ต้องมีมาตรฐาน และระมัดระวังเป็นพิเศษ การพูดพาดพิง รุนแรง ไปวิจารณ์หรือเชียร์อะไรจนเกินเหตุไม่ค่อยมีหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกบทความเชิงวิชาการทั้งนั้น ดังนั้นคำกลางๆ ดูจะมีน้ำหนักที่สุด
แต่ก็ไม่ได้เสมอไปนะครับ … อาจมีหักมุมตอนท้ายๆ ของ Passage ก็ได้นะครับ ดังนั้นดูตอนท้ายดีๆ ด้วย เช่น ตลอด Passage พูดมาให้เห็นถึงข้อดีของการทำหมันสัตว์เลี้ยง พร้อมยกตัวอย่างมากมาย มันก็ควรจะเป็นแนวให้ข้อมูลใช่ไหมครับ แต่อยู่ดีๆตอนปลายก็มีประโยคว่า All in all, spaying and neutering is a responsible, caring thing to do. สุดท้ายจึงตอบแนวกระตุ้นให้ทำครับ
อาจารย์โจมีลักษณะคำที่จะเจอเสมอๆ ในข้อสอบด้วยครับ
อันไหนเป็นแง่บวก แง่กลางๆ แง่ลบ ไปดูกันเล้ย
คำถามทัศนะของผู้เขียน (Intention / Attitude)
ทัศนะของผู้เขียนนั้น แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ คือ เป็นไปในทางบวก (Positive) ในทางลบ(Negative) และไม่มีความรู้สึกใด ๆ (Neutral)
Positive Attitude/Tone | Neutral Attitude/Tone | Negative Attitude/Tone |
---|---|---|
Optimistic (ที่มองโลกในแง่ดี) | Indifferent, Impersonal (ที่ไม่แตกต่าง, เฉย ๆ) | Anxious, Worried (ที่วิตกกังวล) |
Passionate (ที่กระตือรือร้น) | Impartial (ที่ไม่เข้าข้าง) | Frustrated (ที่น่าหงุดหงิด) |
Cheerful, Amused (ที่สดชื่น, ร่าเริง, สนุก) | *Informative/ resourceful/
Factual, neutral, objective (≠ Subjective) (โทนกลางๆ ไม่มีความรู้สึกใดๆ บน Passage แค่ให้ข้อมูลเฉยๆ) | Critical (ที่คับขัน, น่าตำหนิ) |
Enthusiastic (ที่แสดงความสนใจ, ร่าเริง) | Disappointed (ที่ผิดหวัง) | |
Overwhelmed (ที่รู้สึกท่วมท้น) | Sarcastic (เสียดสี) | |
Positive (แง่บวก) | Defiant (ผยอง) | |
Favorable (ยินดี) | Angry (โกรธ) | |
Pleased (พอใจ) | Outraged (โกรธจัด) | |
Respectful (เคารพ) | Warn, Caution (เตือน) | |
Humorous
(ขำขัน) Advise, Suggest, Recommend, Encourage (แนะนำ) Be for = เห็นด้วย | Cynical (ดูถูก) Subjective/ Bias (มีอคติ) |
สรุป: สำหรับหัวข้อเรื่องและจุดประสงค์ของผู้แต่งส่วนใหญ่มีดังนี้
1. เรื่องวิทยาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
- เพื่อบอกเล่า (To inform)
- เพื่อเตือนล่วงหน้า (To warn)
- เพื่อให้ตื่นเต้น (To excite)
- เพื่ออธิบาย (To explain or describe)
2. เรื่องที่มาจากคอลัมน์ เรื่องสุขภาพ หรือ เรื่องยารักษาโรค
- เพื่อเตือนล่วงหน้า (To warn)
- เพื่อนำเสนอ (To present)
- เพื่ออธิบาย (To explain/describe)
- เพื่อชักจูงใจ (To convince/persuade)
3. เรื่องสังคม การดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ
- เพื่อเตือนล่วงหน้า (To warn)
- เพื่อวิเคราะห์ประเด็น (To analyze)
- เพื่อนำเสนอ (To present)
- เพื่อแสดงความคิดเห็น (To demonstrate)
- เพื่อชักจูงใจ (To convince/persuade)
- เพื่อวิจารณ์ (To criticize)
3. Describe, Explain, Narrate ต้องแยกความต่างให้ออก
3 คำนี้หากปรากฏใน Choice ทั้ง 3 ตัวพร้อมๆ กัน บอกเลยว่างานเข้า ถ้าแยกความต่างไม่ออก โดยเฉพาะหากรายละเอียดเหมือนกันด้วย เรามาดูความต่างทีละคำกันดีกว่า
Describe คือ “พรรณนา” เวลาอ่าน Passage เราต้องจินตนการได้ เห็นภาพชัดเจน เช่น ภูเขาไฟระเบิด เกิดเป็นลาวา ไหลลงไปในมหาสมุทร เกิดเป็นเกาะแก่ง และสุดท้ายเป็นที่อยู่ของสัตว์ทะเลที่สมบูรณ์ ดูสิ จินตนาการเฉิดฉายแบบนี้ Describe จึงน่าตอบครับ แต่ก็ดูเนื้อหาตามมาด้วยนะ ว่า Describe อะไร เนื้อหาที่ตามมาก็ต้องครอบคลุมเนื้อหาให้ดีด้วยนะครับ จึงควรเป็นคำใหญ่ๆ หน่อยครับ
Explain คือ “อธิบาย” เวลาอ่าน Passage เราต้องเข้าใจกระบวนการ วิธีการ ลักษณะการทำงาน เหตุผลต่างๆ โดยชัดเจน เช่น อ่านแล้วเข้าใจว่า เซลล์สมองสามารถผลิต FEZ1 ซึ่งป้องกันการติดเชื้อ HIV แล้วก็มาขยายความว่า FEZ1 ทำงานยังไง ป้องกันยังไง แล้วนักวิทยาศาสตร์จะเอามาประยุกต์ในการสร้าง FEZ1 ในเซลล์อื่นๆ ได้อย่างไร พวกนี้ชัดเลยครับ เป็น Explain
Narrate หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคำว่า Narrator เวลาลูกๆ เราไปแสดงละครโรงเรียน เช่น สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้ง 7 ก็จะต้องมีผู้บรรยายเรื่อง (Narrator) มาพูดว่า Once upon a time … ประมาณนี้ ดังนั้นคนคนนี้ มีหน้าที่ในการเรียบเรียงเรื่องนั่นเอง เพราะฉะนั้น Narrate ก็มักจะปรากฏใน Passage ที่เล่าเรื่องแบบมี Chronological Order มีลำดับเวลา พวก History เล่าพวกประวัติศาสตร์ ประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของสิ่งต่างๆ นั่นเอง