Chapter 39
มาตัด Choice หลอก ใน TOEIC Listening (Question & Response) กันเถอะ
นอกจากทักษะการฟังจะดี ขั้นตอนการเตรียมตัวจับ Keyword ก่อนเริ่มฟังเพื่อแยกประเภทคำถาม และเก็งคำตอบล่วงหน้าจะเยี่ยม เท่านี้ยังไม่ strong! พอ … การรู้เท่าทันไปถึงกลยุทธ์การสร้าง Choice หลอก ก็เป็นวิชาที่ต้องมีติดตัว อ้าว! เผื่อบางที ฟังไม่ทัน ได้ห้ามใจไม่เลือกข้อแบบนี้ไงล่ะ
เท่าที่อาจารย์โจเจอมา ผู้ที่กำลังจะไปสอบ TOEIC ส่วนใหญ่ โดยที่ยังไม่ได้เรียนด้วยกัน ยังไม่ได้รู้จักกัน ยังไม่รู้เท่าทันโจทย์หรือ Technique การทำโจทย์ TOEIC แต่ละส่วน มักจะคิดว่า Listening ต้องใช้เวลาฝึกเยอะ เพราะมันคือ Skill ดังนั้น ไปตายเอาดาบหน้าละกัน คือตอบเหมือนๆ ที่ได้ยินนั่นแหละ … ซึ่งในความเป็นจริง นี่คือ Trap ในการออกข้อสอบและตั้ง Choice แบบแรกเลย นั่นคือ
ผู้ออกข้อสอบมักจะตั้ง Choice หลอก ด้วยการใช้คำเดียวกัน หรือ คำที่มีเสียงคล้ายกันกับสิ่งที่เราได้ยิน แต่ความหมายมันไม่ใช่ เช่น
Did you catch the plane?
a. No, I didn’t change my plan.
b. Yes, but I almost missed it.
c. No, I didn’t catch a cold.
คือถ้าเรา Capture ประเภทคำถาม อย่างที่แนะนำในบทความก่อนหน้า เราจะพบว่า ข้อนี้ ต้องตอบแนว Yes หรือ No … ความซวยบังเกิด ทุกข้อตอบ Yes/No หมด แต่มีเนื้อหามาเพิ่มเติมด้านหลัง แสดงว่าข้อนี้ เริ่มวัดลึกลงไปถึงการเข้าใจจริงๆ ล่ะ ไม่ใช่ข้อตัด Mean พอฟังได้แบบก่อนหน้า … ดังนั้น หากเราฟังไม่ทัน หรือฟังไม่รู้เรื่อง ก็ให้ระลึกว่า Choice ไหนเสียงคล้ายกับที่ได้ยินมากๆ มักจะเป็น Choice หลอกนั่นเอง
- ข้อ a. I didn’t change my plan. มีคำว่า plan ซึ่งเสียงคล้ายกับ plane และความหมายก็คนละเรื่องเลย
- ข้อ c. I didn’t catch a cold. มีคำว่า catch คำเดียวกันเป๊ะ แต่ดูความหมายสิ catch a cold คือเป็นหวัด แต่ที่เขาให้โจทย์มา catch a plane เขาถามว่า ขึ้นเครื่องทันไหม?
- ดังนั้นคำตอบที่ถูกคือข้อ b. และเป็นข้อที่ไม่มีเสียงคล้ายกับโจทย์ที่เราได้ยินเลยด้วยซ้ำ
ซึ่งการเรียนรู้ ลักษณะการตั้ง Choice หลอกในแบบต่างๆ มีประโยชน์มากๆ เมื่อเราขาดจุดยึด คือเป็นข้อที่ยากขึ้น หรือฟังไม่ทัน เท่ากับว่าเรายังคงมีทิศทางในการเดาแบบสมเหตุสมผลนั่นเอง