TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities
TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities
TRUSTED BY 
10,000+ Students
10+ Leading Organizations & Universities

IELTS Writing

ENG ME UP CHANNEL

Share :

Article 27

Pronunciation ออกเสียงให้สำเนียงเป๊ะ!
คะแนน IELTS Speaking ปัง! [คลิปสอนตรึม]

( IELTS Speaking 4 )
Grammar เป็น Input ที่สำคัญมากๆ ในการนำไปใส่ใน Process และ Technique การทำคะแนน IELTS ในทุกพาร์ท ดังนั้น อาจารย์นุ้ย อยากให้นักเรียนได้เข้าไปอ่าน ไปทบทวน จาก 10 บทความเปลี่ยนทัศนคติต่อภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์โจกันก่อนนะคะ https://blog.englishmeup.com/grammar

     หนึ่งในเรื่องที่ได้ยินมาจากนักเรียนคือ ออกเสียงแล้วกรรมการก็ยังไม่เข้าใจ ทั้งที่มั่นใจว่าพูดถูกแล้ว เช่น stopped หนูก็อ่านสะต๊อปเป็ด ออกเสียงครบทุกคำ ทำไมกรรมการไม่เข้าใจ

     เดี๋ยววว ช้าก่อนค่ะ stopped ไม่ใช่สะต็อปเป็ดนะคะ แต่คือ สต็อปถฺ ค่ะ ออกเสียงถึเบาๆนะตัว ดังที่ได้เห็นข้างบนว่าการออกเสียงก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่ง ใน criteria สำเนียงจึงมีค่าเท่ากับ 25% ของคะแนนเราเลยค่ะ

     หนึ่งในสิ่งที่ทำให้เราออกเสียงภาษาอังกฤษยาก ก็อาจจะเป็นเพราะเนื่องจากภาษาไทยออกเสียงชัดทุกคำ เช่น “ฉันกินข้าว” จะไม่มี “ฉึนกินเขิ่ววว” ในขณะที่ภาษาอังกฤษ ชอบออกให้สมูธ มีเสียงควบ และมีทั้งการกร่อนเสียงในพยางค์ การเน้นพยางค์ (Stress) รวมถึงโทนเสียง (Intonation) ค่ะ เอาง่ายๆ เยอะไปหมด ดังนั้นเรามาดูการออกเสียงที่จะมีผลต่อการการพูดของเราดีกว่าค่ะ

     อันดับแรกสุดต้องพูดถึงเรื่องการออกเสียงคำที่เจอได้บ่อย และมักจะเป็นคำที่ออกเสียงไม่ถูกตามฝรั่งกัน ยกตัวอย่างคำที่ลงท้ายว่า –tion เราจะไม่อ่าน “ชั่น” แต่ต้องพูดว่า “ฉึ่น” แทน โดยตอนพูดว่าฉึ่นให้ทำปากจู๋ดูน่ารัก เช่น Information เราจะไม่อ่านว่า “อินฟอร์เมชั่น” แต่เราจะออกเสียงว่า “อินเฝอะเม้ฉึ่น” หรือ adv. ที่ลงท้าย –ally เราจะไม่ออกเสียงว่า ออลลี่ แต่จะควบเสียงกับเสียงตัวสะกดของพยางค์ที่นำหน้า –ally ไปเลย เช่น dramatically ไม่ได้อ่านว่า ดราม่าติคอลลี่ แต่อ่านว่า “เดรอะม้าติคลิ”

     เรื่องของการเน้นเสียง (stress) ก็สำคัญมากๆ ค่ะ อย่างที่พูดไปแล้วว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่มักจะออกพยางค์ชัดทุกคำ ในขณะที่ภาษาอังกฤษที่มีการเน้นเพียงแค่บางพยางค์ในประโยคเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น Company ภาษาไทยออกกันว่าคอมปานี แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะเน้นส่วนที่พยางค์แรกหรือ “คัม” และก็ไม่ได้ออกว่าคอมด้วยแต่จะออกเสียงว่า “คั้มเผอะหนิ”

     และอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะฝากไว้เช่นกันก็คือเรื่องของโทนเสียค่ะ เรื่องของโทนเสียงนี้เป็นเรื่องสากลที่สามารถพบได้ในแทบทุกภาษาเลย อย่างถ้าเราตกใจ เสียงก็จะสูง เราอารมณ์เสีย เสียงเราจะเหวี่ยงถูกมั้ยคะ ดังนั้น โทนเสียงที่ควรใช้ พยายามคุมให้ฟังดูเราอารมณ์ดีนะคะ พูดเรื่อยๆ เรียบๆ ไม่สูงไปไม่ต่ำไป และพูดช้าๆ ค่ะ จะทำให้เราคุมโทนได้ง่ายขึ้น

     และนอกเหนือจากการออกเสียงให้ถูกต้องแล้ว สิ่งที่อยากแนะนำอีกอย่างคือถ้าเราออกเสียงชัดเจนตั้งแต่หน่วยเสียง อย่างเสียงพยัญชนะและเสียงสระ จะช่วยให้เราออกเสียงคำได้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น /d/ ที่เสียงจริงๆ แล้วไม่ใช่ ด.เด็ก เสียทีเดียว แต่จะมีเสียงจอจานตามมาด้วยเป็นเงาค่ะ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไม individual ไม่ได้อ่านว่า “อินดิวิด้วน”แต่อ่านว่า “อิ่นดิ๊วิจุอึ่ล” หรือ education ก็อ่านว่า “เอ็ดจุเค้ฉึ่น”

     จึงอยากแนะนำคลิปสอนการออกเสียงตามด้านล่างนะคะ หัดพูดทุกวัน พูดบ่อยๆ วันละน้อย แล้วจะพบว่าตัวเองออกสำเนียงดีขึ้นค่ะ และเวลาฝึกคือไล่ตามลำดับคลิปไปเลยนะคะ อ.นุ้ยได้เรียงลำดับให้เรียบร้อยแล้วค่ะ 🙂

How to Use ENG ME UP Blog

Play Video

เนื่องจากเนื้อหา “Mini Book” เตรียมสอบ IELTS มีความต่อเนื่องกัน อาจารย์แนะนำให้ศึกษาตามลำดับ โดยเริ่มจาก Chapter 1
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ

เนื่องจากเนื้อหา “Mini Book” เตรียมสอบ IELTS มีความต่อเนื่องกัน อาจารย์แนะนำให้ศึกษาตามลำดับ โดยเริ่มจาก Chapter 1
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดครับ