Article 25
ไม่ว่าจะสอบอะไรก็ต้องมีการเตรียมตัวทั้งนั้น การพูดก็เช่นกันค่ะ ซึ่งในการพูด แม้จะต้องอาศัยการเตรียมตัวระยะยาวและอาศัยเรื่องพื้นฐานมากมาย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเท่าใดนักหากรู้จักเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างดี
สำหรับ Grammar ที่ปรากฏในข้อสอบ IELTS ส่วน Speaking ไม่ยากแม้แต่นิดเดียวและเป็นเรื่องพื้นฐานสุดๆ ที่ได้เรียนมาตั้งแต่ประถม
อันดับแรกที่อยากย้ำคือโครงสร้าง Structure ค่ะ ในการเรียนการสอนของโรงเรียนเรานั้นไม่ว่าจะเป็นคอร์สใดก็ตาม จะมีการย้ำถึงความสำคัญของโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างเสมอว่า 1 ประโยค มีกริยาแท้ได้ 1 ตัวเท่านั้น ถ้าจะมีมากกว่า 1 ตัวก็ต้องมี Connectors หรือคำเชื่อมมาเพื่อเชื่อมให้มี 2 ประโยคใน 1 full stop ค่ะ ดังนั้นเนี่ย แค่พูดให้เป็นประธานและกริยาให้ครบถ้วนแค่นี้ก็ถูกต้องแล้วค่ะ นี่เป็นสิ่งหลักๆ ที่ต้องระลึกไว้เลย และนอกจากนี้แล้ว การรู้ สิ่งที่ต้องระวังคือกฎยิบย่อยยกตัวอย่างเช่นหลัง Vช่วย ต้องตามด้วย V.infinitive หรือ V. ที่ไม่ผันรูป
เรื่องของ Tense ก็เช่นกันค่ะ จำไว้ว่าหากเราเล่าเรื่องในอดีตจะต้องใช้รูปอดีต ทางที่ดีคือค่อยๆ พูดนะคะ แล้วคิดไปด้วยว่าเราใช้ tense ถูกมั้ย สิ่งที่อยากฝากไว้คือพยายามฝึกเรื่องไวยากรณ์ให้แม่นค่ะ เพราะถ้าเราแม่นตั้งแต่พื้นฐาน พูดอย่างไรก็ไม่ผิดแน่นอน
Subject-Verb Agreement เรื่องนี้ก็แอบเป็นห่วงอยู่นิดนึง พยายามระลึกไว้เสมอนะคะว่าประธานที่เรากำลังพูดถึงอยู่เป็นใครและเป็นพจน์อะไร ถ้าเป็นเอกพจน์ก็ใช้ V พหูพจน์เติม s แต่ถ้าเป็นพหูพจน์ก็ใช้กริยาพหูพจน์ไม่ต้องเติม s แค่นั้นเองค่ะ
แต่ทีนี่ค่ะก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีความผิดพลาดเลย คุณคงเคยได้ยินคำว่าผิดเป็นครู ดังนั้น ถ้ารู้ตัวว่าพูดผิดนะคะ อย่าเนียนปล่อยไก่! อันนี้คือกรณีที่ผิดขั้นอรหันต์นะคะ แบบแกรมม่าร์ก็ผิด เนื้อความก็อีรุงตุงนัง (แต่ถ้าผิดเล็กน้อยอย่างเช่นแค่ is กับ are สลับกัน แนะนำให้ตีหน้ามึนต่อไปได้ค่ะ) เราต้องรีบแก้ไขโดยประโยคเหล่านี้
Well, I mean….
Actually, I just want to say that…
เป็นต้นค่ะ แล้วค่อยตามด้วยประโยคที่ถูกต้อง แนะนำเทคนิคนี้นะคะ ดีกว่าปล่อยให้ผ่านแล้วผ่านเลย เพราะกรรมการอาจถือว่าจริงๆแล้วเราไม่รู้ เลยพูดผิด ดังนั้นเราจึงต้องแสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วเรารู้นะ แต่เราแค่ตื่นเต้นจนพูดผิดเท่านั้นเอง
จะเห็นได้ว่าคำศัพท์มักเป็นอุปสรรคในการสอบส่วนอื่นๆ อย่างเช่นการอ่านหรือการเขียน เช่นกัน ทีนี้มาในส่วนของ Speaking เอ๊ะ มีคำศัพท์อีกแล้ว แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งตกใจนะคะ เพราะคำศัพท์ที่เราต้องใช้สอบพูดนั้นก็คือคำศัพท์ในชีวิตประจำวันโดยแบ่งเป็นหลายหมวดหมู่ตามที่ใช้ทั่วไปนั่นละ ดังนั้นหากเราเตรียมคำศัพท์พื้นฐานไว้ก่อนก็ยอมเป็นผลดีกับเรา โดยการเตรียมคำศัพท์ในแต่ละหมวดหมู่นี้จะไม่ใช่คำศัพท์หมวดเดียวกับพวกการอ่านค่ะ มาดูตัวอย่างกัน
ข้างล่างเป็นศัพท์การท่องเที่ยว เวลาไปสอบแล้วเจอคำถามหมวดท่องเที่ยวนี้ อย่างน้อยก็ต้องรู้อะไรเบๆ แบบโฮเตล แท็กซี่ เรสตัวรองส์ ทำนองนั้น เห็นมั้ยคะว่าไม่ยากเลย แต่ถ้าใครยังกังวลว่าจะรู้ครอบคลุมหมวดที่เอามาออกข้อสอบไหม อาจารย์นุ้ยก็มีเว็บไซต์แนะนำค่ะ ตามลิ้งค์ข้างล่างไปได้เลย รวบรวมคำศัพท์แบบที่เพียงพอต่อการสอบแน่นอนค่ะ
และในการฝึกนั้นอาจารย์นุ้ยอยากแนะนำว่าให้ท่องคำศัพท์แต่ละตัว แล้วลองแต่งประโยคจริงหน้ากระจก พูดซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าประโยคตัวอย่างจะฝังอยู่ในหัวค่ะ จำให้ได้ด้วยว่าคำที่เราท่องอยู่นั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค พยามใช้ให้ถูกต้องตาม part of speech ด้วยค่ะ
นึกไว้เสมอว่าเขาถามอะไรบ้าง แล้วก็พยามตอบประเด็นเหล่านั้นให้ครบนะคะ เชื่อว่าหลายครั้งที่เราไปเซิร์ชตัวอย่างคำถามตามเว็บไซต์ และเขาก็จะมีตัวอย่างคำตอบ (หรือเรียกง่ายๆ ว่าโพย) มาเป็นประโยคเรียงเป็นเนื้อความเลย
แต่จริงๆ แล้ว ไม่อยากแนะนำให้ท่องจำแพตเทิร์นในการตอบคำถามเข้าไป แต่อยากให้ลองร่างใจความและคีย์เวิร์ดสำคัญด้วยตัวเองมากกว่า ดูแพทเทิร์นในอินเตอร์เน็ตไว้เป็นไกด์ไลน์ก็พอ เพราะถึงเราท่องแพทเทิร์นไปเนี่ย
1. อาจจะเสี่ยงต่อการตอบไม่ตรงคำถาม
2. มันไม่ใช่การตอบคำถามค่ะ แต่เป็นการท่อง
3. เราจะรวนไปหมด เพราะถ้าเกิดจู่ๆ เกิดลืมสคริปต์ แน่นอนว่าหายนะมาแล้วค่ะ
ทีนี้ก็มีหลายวิธีด้วยกันในการฝึกการตอบให้ตรงคำถามและมีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือการลองวาดเป็น Mind Map พยายามคิดถึง keywords สำคัญ อย่าง who what where when why เกิดอะไรที่ไหนเมื่อไหร่อย่างไรกับใคร แล้วเขียนตอบไล่ตามแบบนี้ไปดูนะคะ หลังจากนั้นก็ลองพูดจากคีย์เวิร์ดที่ปรากฏแล้วไล่ไปเรื่อยๆ
สมมติว่าเราเจอคำถามจาก Section ที่ 2 ซึ่งจะให้บัตรคำมาใบนึง แล้วให้เราพูดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำคำนั้น และให้เวลามา 1 นาทีในการเตรียมตัว อันดับแรกสุดเราต้องดูค่ะว่าเขาถามอะไรบ้าง แล้วก็วาด Mind Map ได้เลยค่ะซึ่งทางบล็อกนี้ก็ได้มีตัวอย่างมาให้ดูกันแล้วนะคะเป็นตัวอย่างที่ใช้สอนจริงในห้องเลย ลองมาดูกัน
จะเห็นได้ว่าการตอบคำถามเรื่องทะเลสาบนี้ครอบคลุมทุกประเด็นเลย และเป็นการตอบคำถามที่ตรงคำถามด้วย การเขียนเป็น Mind Map จะช่วยให้เราเห็นไอเดียได้ชัดเจนกว่าและเป็นการหลีกเลี่ยงการท่องจำได้ด้วยค่ะ ซึ่งจะทำให้เราพูดไม่เป็นธรรมชาติ พูดตะกุกตะกัก และอาจเสียคะแนนส่วนการออกเสียงpronunciation และความลื่นไหล fluency ไปก็ได้
และก่อนจะจบ Section นี้กันไป ก็อยากฝากคลิปข้อสอบส่วน Speaking โดยอาจารย์แอ้มแห่งสถาบันเราค่ะ รีบคลิกกันดูนะคะ เพื่อคะแนนที่สดใสของเรา 🙂