Mini Chapter 21
เพิ่ม 3 Input ก่อนเติมในกลยุทธ์
อัพคะแนน CU-TEP Listening ก้าวกระโดด
ฟังออกน่ะดี แต่ต้องฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
โฟกัสให้ได้ คือ ฟังอย่างไรไม่ให้โดน Choice ล่อลวง …
- การเตรียมตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- การโต้ตอบในลักษณะ Informal Language ต้องมา
- Idiom ต้องมี
- โครงสร้าง Grammar ก็ต้องพึงระวัง
ซึ่งในส่วนโครงสร้างนี้ จะเป็นการวัดทักษะการฟังของเรา ว่าเราฟังได้ระดับไหน ระดับตื้นคือจับแค่คำศัพท์ หรือเราฟังได้ลึกถึงเจตนาการสื่อสารจากโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่ดี พร้อมแล้วไปเตรียมตัวกันเลย
เมื่อหูเริ่มพร้อมจาก Chapter 17 .. เรามาเตรียม Input เพิ่มเติม ก่อนเข้าสู่กลยุทธ์และเทคนิคพิชิตข้อสอบ CU-TEP Listening ใน Chapter ต่อไปๆ กันดีกว่าครับ
1. Everyday Expression
ข้อสอบส่วน Conversation จะเป็นบทสนทนาที่มีการโต้ตอบกันของคน 2 คนขึ้นไป ดังนั้นสำนวนการขอร้อง การเสนอแนะ การแสดงความคิดเห็น ทิศทางการตอบโต้ ตอบรับ ตอบตกลง ตอบปฏิเสธ หรือกึ่งประชดประชัน จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งข้อสอบ CU-TEP ก็มักวาง Choice หลอกในส่วนนี้บ่อยครั้ง เช่น
- A man: We should go home early today because I am really bushed.
- A Woman: You can say that again!
พอฟังจบปุ๊ป เราก็มักจะเห็น Choice นึง ประมาณว่า “A woman asked a man to repeat what he said.” ซึ่งถ้าเราฟังแล้วแปลตามตัว ก็อาจจะตอบข้อที่เขาตั้งใจหลอกนี้ทันที แต่เราต้องไม่พลาดครับ เพราะอาจารย์เตรียมเอกสารสำนวนการโต้ตอบ และแสดงความรู้สึก ที่มักเจอในข้อสอบ CU-TEP ไว้ให้ใน Chapter นี้แล้ว … ซึ่งเราก็จะทราบว่าสำนวน “You can say that again!” แปลว่า I agree ตะหากล่ะ ซึ่งภาษาไทยก็คือ “พูดอีกก็ถูกอีก” อาจารย์โจให้จำง่ายๆ ครับ เวลาเราแต่งตัวสวยมากไปโรงเรียนวันนี้ เพื่อนเจอก็บอกเราว่า “เห้ย!วันนี้แกสวยจัง” เวลาเราตอบเพื่อนไปว่า “แกว่าไงนะ” ด้วยน้ำเสียงผสมสีหน้ามีความสุข ความหมายลึกๆ ไม่ใช่ว่าเราไม่ได้ยิน แต่อยากได้ยินอีกตะหากล่ะ ก็มันชอบใจหนิ
เอาล่ะ อาจารย์โจเคยได้รับ #อาจารย์ซุ่มทุ่มไม่อั้น แต่ไม่ใช่ทุ่มเงินนะครับ ทุ่มความรู้และเทคนิคการสอบให้กับนักเรียนของอาจารย์ต่างหาก ว่าแล้วก็กดปุ่ม เพื่อ Download เอกสาร พร้อมเปิด Clip เพื่อเรียนไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ
2. Grammar
โจทย์ CU-TEP Listening หลายๆ ครั้ง ก็วัดทักษะการฟังในระดับลึก คือ แค่ฟังประโยคแล้วจับคำศัพท์ออกมาแปลความหมายอาจไม่เพียงพอ นั่นเพราะมักมี Choice ที่เตรียมหลอกเราอยู่
การฟังในระดับลึกขึ้น หมายความว่า เราต้องเข้าใจเจตนาหรือวัตถุประสงค์การสื่อสาร ซึ่งเจตนาหรือวัตถุประสงค์การสื่อสารที่ว่านี้ก็ซ่อนอยู่ในโครงสร้างหรือแกรมม่าที่เราเกลียดกลัวนั่นแหละครับ อาจารย์โจจึงเน้นเสมอตั้งแต่ Writing Part ว่าเราต้องเตรียม Input อย่างเป็น Step เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการคิดอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ยังมีรายละเอียดอีกหลายจุดที่นักเรียนอาจเสียคะแนนใน Part นี้ได้อีกครับ ซึ่งถ้าเรารู้จักเตรียมตัวก่อนฟัง โฟกัสว่าจะฟังตรงไหน และรู้เท่าทันข้อสอบและการวาง Choice เราก็จะไม่พลาดเสียท่าง่ายๆ … ดังนั้น ประสบการณ์ และการเข้าใจกระบวนการออกข้อสอบ CU-TEP ที่แท้จริง ตลอดจนการคัดเลือกข้อสอบเก่าที่เหมาะสมมาให้นักเรียนในคอร์สได้ฝึกกันอย่างครบถ้วน จึงเป็นปัจจัยที่นักเรียนประสบความสำเร็จในการสอบ CU-TEP ตลอด 15 ปีที่ผ่านมาครับ
3. Idioms
Idioms หรือ สำนวน คืออีกส่วนหนึ่งที่เราจะโดน Choice หลอกได้ ถ้าเราแปลมันไปตรงๆ
Idiom ใน CUTEP ออกไม่ลึกนะครับ คือถ้าเปรียบกับภาษาไทย ก็คงจะเป็นคำพังเพยครับ คือแปลไม่ยาก แต่ต้องคิดว่ามันเทียบกับอะไร เป็นแง่บวกหรือลบอะไรประมาณนั้น ดังนั้นไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือเล่มหนาปึ้กมานั่งท่องนะครับ (ในคอร์สอาจารย์เตรียม Idiom Pocketbook ให้ครบและพอเพียงกับการสอบเรียบร้อยแล้ว) เช่น
The food is really out of this world!
เราก็ต้องเดาครับว่า “อาหารโคตรนอกโลกเลย” คือไรหว่า? อย่างน้อยเดาแง่มันให้ได้ ว่ามันดีหรือไม่ดี บวกหรือลบ ประมาณนี้ ซึ่งบางคนเดาว่าต้องไม่ดีแน่ๆ “นอกโลก” แต่จริงๆฝรั่งบอกว่า เห้ย!หากินในโลกไม่ได้เลยนะเว้ย มันต้องเจ๋งมากแน่ๆ ประมาณนั้น
เราลองมาดูตัวอย่าง Idiom ที่ออกบ่อยๆ ในข้อสอบ CU-TEP Listening กันครับ สัญญาก่อน ว่าต้องเดาดูก่อนนะครับ จะได้จำไปในตัว อย่าเพิ่งฟังเฉลยล่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มเลอ!