Article 20
สำหรับเรื่องของคะแนนในส่วนการฟังนี้ลักษณะการวัดคะแนนจะคล้ายกับ Reading part เนื่องจากจะมีคำถามทั้งหมด 40 ข้อ และนำคะแนนดิบที่เราทำได้จาก 40 ข้อนั้นมาตีเป็น Band ค่ะ มาดูกันเถอะ ตั้งเป้าไว้สูงๆ นะ
Band score Raw score out of 40
ในที่นี้ เชื่อว่าทุกคนย่อมหวัง 7 ไว้เป็นขั้นต่ำใช่ไหมคะ (เราควรหวังสูงไว้ก่อนไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ฮา) ซึ่งในส่วนของการฟังไม่ยากไปกว่า Reading part ค่ะ ดังนั้น ทุกคนสามารถผิดได้ 10 ข้อ ซึ่งไม่ใช่จำนวนที่น้อยเกินไป หากเรามีเทคนิคที่จะช่วยทำให้เดาได้อย่างมีทิศทางมากขึ้น
เตรียมตัวให้พร้อมย่อมมีชัยในห้องสอบจริง
อย่างที่โอดครวญไปเมื่อช่วงต้นว่าพาร์ตการฟังต้องอาศัยการฝึกที่ยากกว่าพาร์ตอื่น เนื่องจากเป็นเรื่องของทักษะที่อาศัยเวลาในการฝึกมากๆ แถมคนที่จะฟังได้ดีก็คือเป็นคนที่ได้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน แต่อยากบอกว่าจริงๆแล้วเนี่ยการฟังมันฝึกฝนในเวลาที่จำกัดได้เหมือนกันนะคะ ขอเพียงแค่เริ่มตั้งแต่วันนี้เท่านั้น มาดูกันค่ะว่าต้องเริ่มจากอะไรบ้าง
อันดับแรกเลย เรื่องของบทสนทนาที่เวลาเราพูดกันในชีวิตจริงเนี่ย มันจะต่างจากเรื่องราวที่เราเห็นและเรื่องราวที่เราจากบทความในหนังสือเรียนถูกมั้ยคะ เพราะบางที การพูดของคนเราจะมี การแสดงความคิดเห็น และ การแสดงความรู้สึก ออกมา (Verbal Expressions) ดังนั้นควรดูคำที่ใช้บอกความรู้สึก รวมถึงดีกรีในการเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูดมา ยกตัวอย่าง Verbal Expressions นะคะ
I totally agree เห็นด้วยอย่างยิ่ง
I think that’s hard to believe เหลือเชื่อจริงๆ เซนส์จะออกไปในทางลบนิดนึงค่ะ
I am not so sure about that. ฉันไม่ค่อยแน่ใจเท่าไรนะ
I think you are absolutely right คุณนี่พูดถูกหมดเลย
ซึ่งคำที่ใช้แสดงความรู้สึกเหล่านี้บางครั้งจะอยู่ในข้อสอบแล้วถามว่าผู้พูดคนแรกรู้สึกอย่างไร ผู้พูดคนที่ 2 รู้สึกอย่างไร บางครั้งก็จะเป็นชื่อคนแล้วถามว่าคนนี้คิดเห็นอย่างไร มาเป็นการจับคู่เลยก็มีค่ะ ดังนั้นถ้าเรารู้คำพูดที่ใช้แสดงความคิดเห็นเหล่านี้จะทำให้เราทำข้อสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือต้องรู้และแยกให้ได้ว่ารู้สึกเป็นบวกหรือลบนะคะ
ในส่วนนี้อาจารย์นุ้ย ขอยืมคลิปของอาจารย์โจมาอธิบายเพิ่มเติมนะคะ เนื่องจาก ใน CU-TEP ก็มีการสอบลักษณะนี้ ในส่วน Listening Part เช่นกันค่ะ
Grammar ก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าการสอบพาร์ตใดก็ก็ใช้ไวยากรณ์ทั้งนั้น ในเมื่อภาษาอังกฤษมีไวยากรณ์เป็นหัวใจหลัก
แต่ทั้งนี้ อยากจะบอกว่าไวยากรณ์ใน Listening ไม่ได้สำคัญหรือเข้มข้นเท่ากับส่วนอื่นๆของการสอบ ซึ่งสิ่งที่เราต้องโฟกัสในเรื่องของไวยากรณ์สำหรับ Listening Part มีดังต่อไปนี้ค่ะ
• Part of speech
สำหรับข้อสอบการฟัง การที่เรารู้หน้าที่ของคำจะช่วยทำให้เราเดาคำตอบได้ง่ายขึ้นหากเราสามารถจำแนกได้ว่าช่องว่างต้องการคำตอบอะไร เวลาที่เราฟัง เราจะได้โฟกัสกับประเภทของคำตอบมากขึ้นนั่นเองค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นแล้วว่าช่องว่างเขาต้องการคำนามเป็นคำตอบ ดังนั้นเวลาที่เราได้ยินคำอะไรก็ตามที่เป็นกริยา เราก็จะไม่นำมาใส่แน่นอน
เช่น
In the middle of __________
เจอแบบนี้ เห็น preposition รู้ได้ทันทีว่าเขาต้องการ N ค่ะ
และอีกอย่างหนึ่งที่แม้จะเป็นเรื่องย่อยๆ แต่ก็สำคัญเหมือนกันใน part of speech ก็คือเรื่องของคำนาม รวมถึงกริยา มาพูดกันทีละเรื่องนะคะ
1. คำนาม
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Countable Noun และ Uncountable Noun ซึ่งทีนี้ก็ต้องดูด้วยว่าตำแหน่งที่ว่างไปต้องการคำตอบเป็นคำประเภทไหน หากเป็นคำนาม เป็นตำแหน่งของ N ที่เป็นพหูพจน์หรือเปล่า ถ้าเป็นพหูพจน์ก็อย่าลืมเติม s ด้วยนะคะ ซึ่งถ้ามันเป็นตำแหน่งของเราที่เป็นพหูพจน์ บางครั้งข้างหน้าช่องว่าง จะไม่มี article สองตัวอย่าง a หรือ an เพื่อบอกว่ามีจำนวนเดียว และอาจมีคำดังต่อไปนี้ปรากฏอยู่
- Many
- several
- few
ซึ่งต้องการ N. ที่เป็นพหูพจน์ตามนั่นเองค่ะ เห็นมั้ยว่าไม่ยากเลย
2. คำกริยา
ในส่วนของคำกริยาเช่นกันต้องดูด้วยว่าตำแหน่งที่หายไปนั้นต้องการคำกริยาที่ผันรูปตามอะไร หรือไม่บางที อาจจะต้องใส่-ing หรือ -ed ค่ะ ระวังเรื่องของตัวสะกดให้ดีน้า
นอกจากนั้น ก็จะมีอีกหลายหัวข้อของ Grammar ที่น่าสนใจที่จะมาเป็นตัวหลอก หรือวัดความเข้าใจระดับเจตนาของผู้สื่อสารค่ะ อาจารย์นุ้ยขอยืมคลิปอาจารย์โจมาใช้อีกเช่นเคยค่ะ